ทันตกรรมสำหรับเด็ก ถือเป็นศาสตร์ทางทันตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อรักษาเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งทันตแพทย์สำหรับเด็กนั้นจะมีความเชี่ยวชาญในการรักษาเด็กและพูดคุยกับเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กพอเห็นเครื่องมือต่าง ๆ ก็จะเกิดความกลัวขึ้นมา แต่ทันตแพทย์เด็กจะมีความสามารถในการพูดคุยในการหลอกล่อให้เด็กเข้ามารักษาอย่างสบายใจโดยไม่เกิดความกลัวได้ และสามารถเปลี่ยนความกลัวของเด็ก ๆ ให้เปลี่ยนมารักในสุขภาพช่องมากยิ่งขึ้น
ทันตกรรมสำหรับเด็ก คืออะไร ?
ทันตกรรมสำหรับเด็ก หรือทันตกรรมเด็ก (Pediatric Dentistry) จะเป็นการรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น โดยสามารถพาลูกหลายที่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นมา หรือประมาณ 6 เดือน เพื่อทำการตรวจฟันครั้งแรกได้เลย ทันตกรรมสำหรับเด็กมีความสำคัญมากเพื่อสุขภาพของฟันในอนาคตของเด็ก ๆ เพราะเด็กมีความต้องการที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ทั้งในด้านการพัฒนาการของฟันและจิตใจ
หากเด็กไม่ได้รับการดูแลฟันจากหมอฟันที่ไม่เข้าใจเด็กหรือไม่ใช่ทันตแพทย์เด็กโดยตรงอาจจะสร้างความกลัวและเด็กก็ไม่กล้าที่จะเข้ามาตรวจฟันทำให้ปัญหาฟันรุนแรงมากขึ้น ทำให้ทันตกรรมสำหรับเด็กจึงมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังการรักสุขภาพช่องปากตั้งแต่เด็ก และป้องกันปัญหาฟันต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้น้อยลงในวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัย
สำหรับผู้ปกครองหรือพ่อแม่ที่อยากจะมาพาเด็ก ๆ เข้าพบทันตแพทย์สำหรับเด็กเพื่อสร้างนิสัยในการรักษาดูแลฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็ก การรู้จักพัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัยถือเป็นหนึ่งในความรู้ที่ผู้ปกครองทุกคนจะต้องสร้างความเข้าใจ โดยพัฒนาการของฟันเด็กจะเป็น 5 ช่วงดังนี้
- วัยทารก สำหรับฟันซี่แรกจะเริ่มขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งเราจะเรียกฟันชุดแรกว่าฟันน้ำนม หากเริ่มมีฟันซี่แรกขึ้นมา พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลายไปที่คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กได้เลย
- วัยเตาะแตะ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 1-3 ปี โดยที่ฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่จะขึ้นครบในช่วงอายุประมาณ 2-3 ปี แนะนำให้ไปหาทันตแพทย์สำหรับเด็กเพื่อให้พ่อปกครองรู้จักวิธีการดูแลฟันสำหรับบุตรหลานอย่างถูกต้อง
- วัยก่อนเข้าโรงเรียน คือช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นช่วงที่มักจะพบฟันผุในฟันน้ำนมเยอะที่สุด ผู้ปกครองควรที่จะส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของฟันแท้ในอนาคตด้วย
- วัยเรียน คือช่วงอายุ 6-12 ปี ในช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลกของฟันโดยฟันแท้จะเข้ามาแทนฟันน้ำนม ฟันกรามแท้ชุดแรก (ฟันกรามที่ 6) มักจะขึ้นในช่วงอายุ 6-7 ปี และฟันแท้จะขึ้นจนครบประมาณอายุ 12-13 ปี
- วัยรุ่น คือช่วงเวลา 13-18 ปี ฟันแท้จะขึ้นครบ 28 ซี่ ฟันกรามซี่สุดท้าย หรือฟันคุดจะขึ้นตามมาเป็นซี่สุดท้าย
ทำไมควรพาลูกไปทันตกรรมสำหรับเด็ก ?
การพาบุตรหลายไปพบทันตกรรมสำหรับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องให้ความใส่ใจ เพราะการพาเด็กไปทันตแพทย์สำหรับเด็กเฉพาะจะมีจิตวิทยาในการพูดคุยสามารถดูแลรักษาฟันของเด็ก ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นดังนี้
- ป้องกันปัญหาฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ เด็กที่ได้รับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาทางทันตกรรมที่รุนแรงเมื่อโตขึ้น
- ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ยังเด็ก หมอฟันเด็กจะมีวิธีการพูดคุยและแนะนำเด็ก ๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กอย่างน่าสนใจ
- การสร้างความคุ้นเคยในการตรวจฟันและลดความกลัวการมาหาหมอฟัน ทันตกรรมเด็กจะความเข้าใจและวิธีการในการจัดการกับความกลัวของเด็ก ทำให้เด็กมีประสบการณ์ที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก
- ดูแลฟันน้ำนมและฟันแท้ให้แข็งแรง ทันตแพทย์เด็กมีความรู้และทักษะเฉพาะในการดูแลฟันน้ำนมและฟันแท้ที่พึ่งขึ้นเป็นอย่างดี ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของฟันและกรามในอนาคต
- ตรวจหาและแก้ไขปัญหาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะสูญเสียฟันไป โดยเฉพาะการมีฟันผุเริ่มต้น ปัญหาการกัดและการเรียงตัวของฟันที่สามารถเริ่มรักษาได้เลยทันที
ทันตกรรมเด็ก มีอะไรบ้าง ?
สำหรับการรักษาของทันตกรรมเด็ก ส่วนใหญ่จะเป็นทันตกรรมพื้นฐานทั่วไปแต่การจะรักษาเด็ก ๆ ให้ไม่กลัวหรือสร้างสุขนิสัยในการพบทันตแพทย์เป็นประจำนั้น ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะเข้าใจและมีวิธีการจัดการที่ดีกว่า มีความเบามือทำให้การรักษาต่าง ๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น โดยทันตกรรมเด็กมีดังต่อไปนี้
ตรวจสุขภาพฟันสำหรับเด็ก
การตรวจสุขภาพฟันสำหรับเด็ก ถือเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะพาลูก ๆ ไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ โดยอาจจะพาไปคลินิกทันตกรรมเด็กเดือนละครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง การตรวจสุขภาพฟันที่สม่ำเสมอช่วยให้หมอฟันสามารถตรวจหาและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยมีขั้นตอนการตรวจดังนี้
- การประเมินเบื้องต้น
- การตรวจฟันและเหงือก
- การทำความสะอาดฟัน
- การเคลือบหลุมร่องฟัน
ขูดหินปูนในฟันเด็ก
ขูดหินปูนในฟันเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็ก ๆ เพื่อปกกันปัญหาฟันอื่น ๆ ถึงแม้จะเป็นเด็กแต่ก็มีการสะสมของหินปูนบนฟันได้เช่นกัน การขูดหินปูนมักจะมีเสียที่น่ากลัวและสร้างความเสียวฟันได้ ดังนั้นจะต้องใช้ทันตแพทย์สำหรับเด็กในการรักษาด้วยวิธีการที่จะทำให้เด็กไม่กลัว ช่วยให้ฟันสะอาดและเหงือกมีสุขภาพดี โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ตรวจสุขภาพฟันเบื้องต้น
- ทำความสะอาดฟันโดยใช้เครื่องมือทันตกรรม
- ขัดฟันโดยใช้เครื่องมือทันตกรรม
- การเคลือบฟลูออไรด์
การเคลือบฟลูออไรด์
ในการตรวจฟันบางครั้งอาจจะไม่พบหินปูน แต่ทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันให้กับเด็ก ๆ อย่างล้ำลึกและมีการเคลือบฟลูออไรด์ เพราะการเคลือบฟลูออไรด์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุและเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเด็ก ๆ โดยจะมีขั้นตอนในการเคลือบฟลูออไรด์ดังนี้
- ทำความสะอาดฟัน
- เคลือบฟลูออไรด์
- รอให้ฟลูออไรด์ทำงาน
- ให้คำแนะนำหลังการเคลือบ
อุดฟันน้ำนม และฟันแท้ในเด็ก
ในการรักษาฟันผุที่พบมากในเด็กทันตแพทย์สำหรับเด็กจะทำการอุดฟันโดยใช้วัสดุเรซินคอมโพสิต หรืออมัลกัม สำหรับเด็กฟันนั้นมีความเปราะบางทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย การเจอฟันผุตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ฟันผุถูกกำจัดออกและทำการแทนที่ด้วยวัสดุอุดฟัน การอุดฟันช่วยเก็บรักษาฟันที่มีปัญหาไว้ โดยการอุดฟันในเด็กมีขั้นตอนดังนี้
- การตรวจและเตรียมฟัน
- ทำความสะอาดฟันที่มีการผุ
- การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต หรืออมัลกัม
- ปรับแต่งและขัดฟัน
การถอนฟันน้ำนมในเด็ก
มีเด็กหลายคนที่ฟันน้ำนมอาจจะไม่หลุดออกตามปกติ หรือหลุดออกยากทำให้เกิดความเจ็บปวดสะสม การถอนฟันน้ำนมในเด็กออกนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยลดความเจ็บปวด และสร้างพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นอย่างเหมาะสม การถอนฟันน้ำนมควรจะเป็นทันตแพทย์เด็กที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาเป็นอย่างราบรื่นที่สุด
- การตรวจและวินิจฉัย
- ให้ยาชาลดความเจ็บปวดให้เด็ก
- ทำการถอนฟัน
- กัดผ้าก๊อซเพื่อลดการเลือดออก
การเคลือบหลุมร่องฟันสำหรับเด็ก
การเคลือบหลุมร่องฟันเป็นวิธีการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็ก โดยเฉพาะฟันกรามที่มักมีร่องลึกและซอกแคบที่ทำความสะอาดได้ยากซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน การเคลือบหลุมร่องฟันจะช่วยปิดร่องฟันและป้องกันการสะสมของคราบแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันผุ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ทำความสะอาดฟันขจัดคราบแบคทีเรีย
- การเตรียมฟันให้พร้อมสำหรับการเคลือบ
- อบแห้งฟันเพื่อให้ฟันแห้งสนิท
- ทาน้ำยาหรือวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
- ใช้แสงอัลตราไวโอเลตให้แข็งตัว
- การตรวจสอบและปรับแต่ง
ครอบฟันในเด็ก
การครอบฟันในเด็ก จะช่วยการป้องกันและฟื้นฟูฟันที่มีความเสียหายรุนแรงในเด็กที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันผุแตกหัก หรือเสียหายจากการกระแทก โดยการครอบฟันจะช่วยปกป้องฟันเดิมและฟื้นฟูการทำงานของฟันให้กลับมาเป็นปกติ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ทำการเอ็กซ์เรย์เพื่อประเมินสภาพฟันและเหงือก
- ขจัดเนื้อฟันที่ผุออก
- ทำรอยประทับฟัน
- ใส่ครอบฟันชั่วคราว
- ใส่ครอบฟันถาวร
รักษารากฟันน้ำนม
การรักษารากฟันน้ำนม เป็นทันตกรรมที่ทำในเด็กเมื่อเนื้อฟันที่เกิดการอักเสบหรือติดเชื้ออย่างรุนแรง จะช่วยกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกไป เพื่อรักษาโครงสร้างฟันที่เหลือให้คงอยู่จนกว่าฟันน้ำนมจะหลุดเองตามธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ทำการตรวจสอบเอ็กซ์เรย์เพื่อประเมินระดับของการติดเชื้อ
- ทำการฉีดยาชาเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
- เปิดช่องเข้าถึงเนื้อฟันที่ติดเชื้อ
- กำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกทั้งหมด
- การอุดรากฟัน
- การฟื้นฟูโครงสร้างฟัน
การจัดฟันในวัยเด็ก ทำได้หรือไม่ ?
สำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียงตัวของฟันหรือการสบฟันหรือความผิดปกติของฟันและกระดูกขากรรไกร สามารถรักษาด้วยการจัดฟันได้ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งทันตแพทย์จะแนะนำเด็กที่มีฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่สามารถทำได้ โดยไม่ต้องรอให้ฟันคุดขึ้นโดยทั่วไปคือช่วงอายุประมาณ 11-14 ปี แต่ในระหว่างการรักษาหากมีฟันคุดขึ้นก็สามารถถอนออกได้
สำหรับเด็กที่ฟันน้ำนมไม่ขึ้นก็สามารถจัดฟันได้เช่นกัน โดยจะใช้วิธีการแบ่งระยะในการจัดฟัน โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่อายุ 6-9 ปี การรักษาในระยะนี้เน้นที่การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการเติบโตของกระดูกขากรรไกร และดำเนินต่อไปจนครบระยะของการจัดฟัน
ทันตกรรมเด็กต่างจากทันตกรรมทั่วไปอย่างไร ?
สำหรับทันตกรรมเด็กต่างจากทันตกรรมทั่วไปตรงที่การใช้จิตวิทยาในการรักษาเพื่อลดความกลัวของเด็กและสร้างเสริมในการรักสุขภาพช่องปาก โดยทันตกรรมสำหรับเด็กจะต้องเป็นทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางในการดูแลเด็กมาโดยตรง จะมีความเข้าใจในพฤติกรรม การแสดงออก ความรู้สึก วิธีการดูแลรักษา ซึ่งจะถูกฝึกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้เด็กไม่กลัวในการรักษาฟันต่าง ๆ
แต่สำหรับทันตกรรมทั่วไปในผู้ใหญ่ก็จะเป็นทันตแพทย์ไม่ได้ผ่านการอบรมเฉพาะทางในการรักษาเด็ก ทำให้บางครั้งอาจจะไม่รู้วิธีการเข้าหาคนไข้ที่เป็นเด็กสร้างความกลัวให้เด็กเพิ่มขึ้น หรือวิธีการรักษาบางอยากอาจจะต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับเด็กโดนตรง
ข้อดีของการเริ่มทำฟันเด็กตั้งแต่ยังเล็ก
- ป้องกันโรคฟันผุ การพาบุตรหลานไปตรวจสุขภาพฟันตั้งแต่เด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันผุและโรคเหงือกได้เยอะมาก ๆ ซึ่งเป็นสองปัญหาทันตกรรมที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
- ฝึกฝนนิสัยการดูแลสุขภาพฟันที่ดีตั้งแต่เด็ก การนำเด็กไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และฝึกนิสัยการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
- จับปัญหาฟันที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา ทันตแพทย์เด็กสามารถจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เร็ว หรือความผิดปกติในการกัดที่อาจต้องการการจัดฟันในอนาคต
- ทำให้เด็กไม่กลัวการไปคลินิกทันตกรรม การพาเด็กไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่เล็กช่วยลดความกลัวหรือความวิตกกังวลในการไปพบทันตแพทย์เมื่อโตขึ้น ทันตแพทย์เด็กจะทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นในการไปรับการตรวจหรือรักษา
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะการมีสุขภาพฟันที่ดีจะทำให้เราไม่ต้องเจอกับปัญหาฟันใหญ่ ๆ ที่รุนแรงและมีค่ารักษาแพงกว่าในภายหลัง เช่น การรักษารากฟันหรือการจัดฟัน
พาเด็กไปรักษาทันตกรรมที่ไหนดี ?
พ่อแม่ผู้ปกครองที่อยู่ในกรุงเทพหรือพัทยา สามารถเข้ามาใช้บริการทันกรรมเด็กที่ Dio Dental Clinic คลินิกทันกรรมสำหรับเด็กในกรุงเทพ และพัทยา มีคุณหมอที่เข้าใจเด็กให้บริการน้อย ๆ ที่อยากมีสุขภาพฟันที่ดี สามารถเปลี่ยนความกลัวของเด็กให้การเป็นความสนุกสนานในการเข้ามาตรวจฟันและรักษาฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่รุนแรงในอนาคตได้
ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟันเด็ก
คำถามที่พบบ่อย
ควรพาลูกหลายไปพบทันตแพทย์สำหรับเด็กตอนอายุเท่าไหร่ ?
พ่อแม่สามารถพาบุตรหลานไปพบทันตแพทย์เป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 1 ปี หรือภายใน 6 เดือนหลังจากฟันน้ำนมซี่แรกงอกขึ้นมา
ปัญหาฟันในเด็กที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร ?
ในวัยเด็กปัญหาสุขภาพฟันที่พบบ่อยที่สุดนั้นคือ ฟันผุ เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดเนื่องจากความแข็งแรงของฟันที่ไม่เหมือนผู้ใหญ่ ความชื่นชอบในขนมหวาน ๆ ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย
เริ่มจัดฟันได้ตอนอายุเท่าไหร่ ?
จริง ๆ แล้วการเริ่มจัดฟันในวัยเด็กระหว่างอายุประมาณ 8 ถึง 14 ปี นั้นดีต่อกระบวนการรักษาจัดฟันมาก ๆ เพราะฟันและกระดูกกรามและขากรรไกรยังไม่แข็งแรงทำให้การเคลื่อนที่ของฟันนั้นง่ายกว่าวัยผู้ใหญ่
เด็กควรเริ่มใช้ยาสีฟันเมื่อไหร่ ?
ปัจจุบันมียาสีฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ โดยสามารถเริ่มต้นใช้ยาซีฟันแปรงฟันได้เมื่อเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามควรดูป้ายกำกับการใช้ยาสีฟันที่นำมาให้บุตรหลายแปรงฟันว่ามีอายุของผู้ใช้กำหนดเท่าไหร่ สามารถใช้กับลูกคุณได้หรือไม่
น้ำอัดลมมีผลเสียกับฟันเด็กอย่างไรบ้าง ?
ขึ้นชื่อว่าน้ำอัดลมที่มีการอัดแก๊สเข้าไปด้วยนั้นไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายและฟันอย่างแน่นอนส่งผลให้เกิิด
- การก่อให้เกิดฟันผุ เนื่องจากน้ำตาลและกรดสามารถทำให้เกิดเซลล์แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้
- การก่อให้เกิดกรดในช่องปาก อาจทำให้ฟันไปสูญเสียแร่ธาตุและสร้างก้อนหินปูนบนฟันได้
- เสี่ยงต่อการกัดฟัน เนื่องจากการดื่มน้ำอัดลมสามารถทำให้เกิดการเคลือบหลุมร่องฟันและการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนในการกัดฟัน
- หากเด็กได้รับการจัดฟัน การดื่มน้ำอัดลมอาจทำลายเครื่องหมายเส้นเหล็กที่ใช้ในการจัดฟันได้
สรุป
ทันตกรรมสำหรับเด็ก มุ่งเน้นในการดูแลและรักษาสุขภาพฟันและช่องปากของเด็กตั้งแต่อายุเริ่มต้นจนถึงวัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 1-7 ปี ที่มีความกลัวในการรักษา การนำเด็ก ๆ มาพบกับทันตแพทย์สำหรับเด็กจะสร้างความรู้สึกที่ดี ลดความกลัว และได้รับการรักษาอย่างราบรื่น จะช่วยส่งเสริมสุขภาพฟันให้กับเด็กและสร้างนิสัยในการรักษาความสะอาดอย่างถูกต้องให้กับเด็กอีกด้วย Dio Dental Clinic พร้อมให้บริการเด็ก ๆ และพ่อแม่สามารถเข้ามาตรวจฟันและรักษาฟันได้ทุกรายการ