ผ่าฟันคุด เจ็บหรือไม่ ผ่าแล้วต้องดูแลอย่างไรบ้าง ?

ผ่าฟันคุด-เจ็บหรือไม่--ผ่าแล้วต้องดูแล-อย่างไรบ้าง-
สารบัญเนื้อหา

ปัญหาฟันที่หลาย ๆ ท่านมักเจอ และทำใจยากมาก ๆ คือฟันคุดที่จะต้องทำการถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดออกเท่านั้น เพราะหากไม่ถอนหรือผ่าออกอาจจะทำให้ฟันคุดมีปัญหาทางทันตกรรมต่าง ๆ เช่น ฟันผุ เกินเหงือกอักเสบ และอื่น ๆ เนื่องจากการรักษาทำความสะอาดที่เข้าถึงยาก ฟันคุดเป็นฟันที่จะออกหลังสุดในช่วงอายุ 18-25 ปี และเป็นฟันที่ไม่มีประโยชน์สามารถถอนออกหรือผ่าออกได้โดยไม่สร้างความเสียหายให้กับระบบฟันทั้งหมด

ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด

ทำความรู้จักเกี่ยวกับ ฟันคุด

ฟันคุด​ คือ ฟันกรามของผู้ใหญ่ซี่ที่ 3 โดยทั่วไปเรียกว่า “ฟันคุด” โดยปกติแล้วจะเป็นฟันซี่สุดท้ายที่จะขึ้นในปาก โดยส่วนใหญ่แล้วฟันซี่นี้จะเริ่มงอกขึ้นมาในช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี ฟันคุดจะมีอยู่ 4 ซี่ แต่อาจไม่ปรากฏให้เห็นในช่องปากเลยหรือโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วนเท่านั้น บางคนอาจมีฟันคุดงอกขึ้นมามีหนึ่ง สอง หรือสามซี่ ฟันคุดบางซี่ขึ้นมาได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ

แต่หากขึ้นไม่ตรง ขึ้นไม่สุดหรือที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ อาจสร้างความเจ็บปวด และเป็นแหล่งสะสมอาหาร ทำให้มักจะทำความสะอาดได้ยาก เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมายทำให้ต้องมีการถอนฟันคุดออก หรือผ่าฟันคุดออกไปเลย

ผ่าฟันคุด คืออะไร

การผ่าฟันคุด สำหรับท่านที่มีฟันคุดขึ้นไม่ หรือที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ บางคนอาจจะขึ้นเอียงหรือขึ้นมาแบบขวางเลยก็มี หากฟันคุดของคุณไม่ได้ขึ้นมาตรง ๆ ทางเดียวที่จะทำได้ในการรักษาคือ การผ่าฟันคุด (Surgical removal of impacted tooth) จะเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก โดยการใช้ยาชาเฉพาะตำแหน่ง เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดฟันคุด ทนต่อความเจ็บปวดระยะเวลาสั้น ๆ จากการผ่าฟันคุด

ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 30 – 90 นาที ขึ้นอยู่กับแนวของฟันคุดที่ขึ้นมา แต่ท่านไหนที่มีรากฟันคุดอยู่ใกล้เส้นประสาท การผ่าตัดก็จะต้องใช้ความละเอียดมากขึ้น ซึ่งการผ่าตัดฟันคุดจะต้องทำโดยทันตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น และผู้เข้ารักษาจะต้องมีการเอกซเรย์ฟันก่อนที่จะผ่าตัด จึงทำให้การผ่าฟันคุดมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าการถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุด

การถอนฟันคุด คืออะไร

การถอนฟันคุด คือการถอนฟันคุดเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายออกไป อย่างที่บอกไปฟันคุดสามารถขึ้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้มีประโยชน์และยังดูแลช่องปากได้ยาก ส่งผลกับฟันซี่อื่นหรือฟันซี่ข้างเคียงเกิดปัญหาฟันผุตามมาได้ ทำให้ส่วนของฟันคุดที่ขึ้นมาตรง ๆ ไม่ได้ขึ้นแนวเฉียงหรือเอียงก็สามารถถอนฟันคุดได้เลยทันที

โดยจะเป็นกระบวนการถอนฟันทั่วไป ก่อนถอนฟันคุดที่คิดว่าขึ้นมาตรง ๆ ก็จะต้องเอกสเรย์ดูฟันและกระดูกขากรรไกรก่อนที่จะถอนเพื่อความปลอดภัย หากไม่สามารถถอนฟันคุดได้จะต้องผ่าฟันคุดออกเท่านั้น

ถอนฟันคุด

เหตุใดจึงต้องผ่าตัดหรือถอนฟันคุดออก ?

โดยปกติแล้วคุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันคุดหากฟันคุดแต่ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ แต่เนื่องด้วยฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ในสุดทำให้ทำความสะอาดอยากซึ่งจะมาสู่ปัญหาฟันต่าง ๆ มากมาย บางคนฟันคุดมักจะมีการขึ้นผิดปกติที่ควรจะเป็นเช่น ขึ้นในแนวเฉียง ขึ้นแนวขวาง

ทำให้มักเกิดความเจ็บปวดได้ง่าย และยังสร้างการสะสมของเศษอาหารและเชื้อโรคต่าง ๆ และนำไปสู่ปัญหาเหงือกอักเสบได้ หากไม่ทำการถอนฟันคุด หรือการผ่าฟันคุดออกจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

  • ฟันผุ
  • โรคเหงือก (เรียกอีกอย่างว่าโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์)
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ – เมื่อคราบจุลินทรีย์ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบฟัน
  • เซลลูไลติส – การติดเชื้อแบคทีเรียในแก้ม ลิ้น หรือลำคอ
  • ฝี – การสะสมของหนองในฟันคุดหรือเนื้อเยื่อรอบข้างอันเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ซีสต์และการเจริญเติบโตที่ไม่ร้ายแรง – น้อยมากจากการที่ฟันคุดที่ไม่ได้ตัดผ่านเหงือกจะทำให้เกิดซีสต์ (อาการบวมที่เต็มไปด้วยของเหลว)
สาเหตุของการเกิดฟันคุด

ขั้นตอนการผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุด

การผ่าตัดถอนฟันคุดโดยทั่วไปจะดำเนินการโดยทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปาก การผ่าตัดจะเป็นการตัดเหงือกและถอนฟันออกทั้งซี่หรือเป็นชิ้น ๆ เพื่อป้องกันความเจ็บปวดทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชา โดยส่วนใหญ่มักจะมีการผ่าตัดหรือถอนฟันข้างเคียงข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ฟันอีกข้างยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยการรับการรักษาผ่าตัดฟันคุดจะมีขั้นตอนการผ่าฟันคุดดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับการเอาฟันคุดออก

ทันตแพทย์จะทำการตรวจดูส่วนของฟันคุดของคนไข้ว่าฟันสมบูรณ์หรือไม่ และมีการออกผิดปกติหรือไม่ หากขึ้นตรง ๆ ก็สามารถถอนฟันคุดโดยไม่ต้องผ่าได้ แต่หากขึ้นผิดปกติหรือ หรือขึ้นไม่สุดจะต้องผ่าฟันคุดออกเท่านั้น สำหรับหากมีการอักเสบบริเวณฟันคุดจะต้องรอให้การอักเสบหายก่อนถึงจะทำการผ่าได้

ปรึกษาทันตแพทย์ผ่าฟันคุด

ขั้นตอนที่ 2 เอกซเรย์ฟันคุด

ก่อนผ่าฟันคุดจะต้องทำการเอกซเรย์ของฟันคุดว่าอยู่ในตำแหน่งไหนที่โผล่ขึ้นมา หลังจากนั้นจะตรวจดูว่าบริการฟันคุดมีการอักเสบติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถกำหนดการรักษาและการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด ไม่ส่งผลกับฟันซี่อื่น ๆ  

เอกซเรย์ฟันคุด

ขั้นตอนที่ 3 การผ่าตัด

ทันตแพทย์จะทำการวัดความดันของคนไข้ว่าอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ จากนั้นจะทำการฉีดยาชาเพื่อให้การผ่าตัดไม่เกิดความเจ็บปวด หลังจากนั้นการผ่าฟันหากฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ปกติ ทันตแพทย์ของคุณอาจจะต้องแบ่งฟันออกเป็นส่วนเล็ก ๆ วิธีนี้จะช่วยลดขนาดของรู้ในเหงือก 

การผ่าตัด

ขั้นตอนที่ 4 เย็บแผลผ่าฟันคุด

หลังจากการที่ฟันถอดออก ทันตแพทย์จะเย็บเหงือกที่ทำการผ่าตัดกลับไป ทันตแพทย์จะให้ผ้าก๊อซมากดบริเวณที่บวมด้วย ในวันแรกจะมีเลือดออกมาอยู่บ้าง ทางคลินิกทันตกรรมจะแนะนำให้เปลี่ยนผ้าก๊อซทุก ๆ 2 ชั่วโมง กัดผ้าก๊อซไปจนแน่ใจว่าเลือดหยุดไหล และจะต้องกลืนน้ำลายหรือเลือดที่ไหลออกมา ไม่ให้บ้วนทิ้งเป็นอันขาด

เย็บแผลผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด เจ็บปวดมากหรือไม่ ?

อาการปวดหลังผ่าตัดฟันคุดนั้นต้องมีอยู่แล้วแน่นอน แต่สำหรับขั้นตอนในการผ่าฟันนั้นผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย เพราะทางทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาในตำแหน่งต่าง ๆ บริเวณที่จะผ่า เพื่อไม่ให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดรู้สึกเจ็บปวดเลยแม้แต่น้อย และการผ่าตัดฟันคุดถือเป็นการผ่าตัดเล็กที่เกิดบาดแผลไม่มาก แต่ก็สามารถสร้างอาการปวดหลังผ่าได้เช่นกัน

สำหรับหลังผ่าตัดผู้ที่เข้ารับการผ่าฟันคุด อาจรู้สึกปวดบริเวณที่ผ่าอยู่แล้ว โดยทั่วไปหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยหากเริ่มรู้สึกปวดที่แผลผ่าตัด ท่านสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาความเจ็บได้เลยทันที การเจ็บปวดในแต่ละคนนั้นจะมีอาการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการผ่าตัด หากมีความยากจะใช้เวลานาน จึงทำให้เกิดการอักเสบเยอะกว่าปกติ ส่งผลให้หลังผ่าตัดมีความเจ็บปวดมากกว่า และยังขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์อีกด้วย

ผ่าฟันคุด

ผ่าฟันคุดหายเจ็บ หายบวมกี่วัน ?

ใครที่กลัวว่าการเจ็บปวดหลังผ่าตัดนั้นจะเจ็บมากหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับการรักษาของแต่ละคน เพราะในบางคนอาการปวดมาก ๆ เกิดขึ้นเพียงวันเดียวหลังผ่าเท่านั้น หรือบางคนอาจจะรู้สึกปวดมากและค่อย ๆ หายไปในเวลา 3-7 วัน แต่บอกเลยว่าการผ่าตัดฟันคุดในปัจจุบันไม่ได้เจ็บปวดมากเหมือนเมื่อก่อน เพราะ Dio Dental Clinic เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดฟันคุด ด้วยการรักษาที่จะทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดฟันคุดมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยที่สุด อย่างแน่นอน

การดูแลช่องปากหลังผ่าตัดฟันคุด เพื่อไม่ให้แผลอักเสบ และเกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุด

เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบและเกิดความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น คุณสามารถปฏิบัติหลังผ่าฟันคุดได้ดังต่อไปนี้

  • ให้คุณกัดผ้าก๊อซให้แน่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากผ่าตัด เพื่อทำการห้ามเลือดไม่ให้ไหล สำหรับใครที่ยังมีเลือดออกอยู่ ให้กัดผ้าก๊อซต่อไปทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงจนกว่าเลือดออกจะหยุดไหล สามารถสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง
  • ห้ามบ้วนเลือดออกหรือน้ำลายทิ้ง เพราะจะทำให้มีเลือดออกเยอะขึ้น ถ้ามีเลือดซึม ๆ หรือมีน้ำลายให้กลืนเข้าไปให้หมด
  • ไม่ควรที่จะดูด หรือเลียแผลผ่าตัดเมื่อเลือดหยุดไหลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลิ่มเลือดถูกสร้างขึ้นในบริเวณฟันที่ถูกถอน และเกิดการติดเชื้อ
  • ในวันแรกหลังผ่าตัดไม่ควรแปรงฟัน คุณสามารถแปรงฟันได้หลังจาก 1-2 วันหลังผ่า แต่ควรระวังการสัมผัสบริเวณที่เป็นแผลโดยตรง ให้แปรงฟันโดยเว้นฟันที่อยู่ติดแผล 2 ซี่ เพื่อป้องกันไม่ให้แปรงโดนแผล
  • รับประทานยาแก้ปวดหรือยาฆ่าเชื้อตามที่ทันตแพทย์สั่งให้หมด
  • ประคบเย็นบริเวณกระพุ้งแก้มในช่วง 48 ชั่วโมงแรก เพื่อให้หลอดเลือดหดตัว ลดการอักเสบ และป้องกันการบวมที่เกิดจากการอักเสบ
  • หลังจาก 48 ชั่วโมง ให้ประคบร้อนเพื่อขยายหลอดเลือด ลดการบวมของเลือด และน้ำเหลืองที่เกิดจากการผ่าตัด ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก งดแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ อย่างน้อย 1 สัปดาห์
Oral care after wisdom tooth surgery

อาหารควรรับประทาน และห้ามรับประทานหลังจากผ่าตัดฟันคุด

สิ่งที่ควรรับประทานหลังจากการถอนฟันคุดหรือผ่าควรจะรับประทานคือ พวกอาหารอ่อน ๆ อย่าง ซุป โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่กวน, ไข่ตุ๋น และพวกของหวานก็สามารถ สมูตตี้ โยเกิร์ต สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถรับประทานได้และควรหลีกเลี่ยงการกิน อาหารที่แข็ง หรือกรอบๆ อาหารที่มีความเหนียว อาหารรสจัด ที่สามารถสร้างความระคายเคืองให้กับแผลได้ และห้ามดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และภาวะกระดูกเบ้าฟันอักเสบได้

หลังผ่าฟันคุด ใช้เวลาดูแลรักษาให้หายกี่วัน ?

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เข้ารับการผ่าฟันคุดอยากรู้มากที่สุด คือ ผ่าฟันคุดบวมกี่วัน? ผ่าฟันคุดกี่วันหาย? โดยทั่วไปแล้วแผลการผ่าฟันคุด ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะดีขึ้นและหายไปในที่สุด โดยอาการเจ็บปวดหลังผ่าฟันคุดจะทำให้เหงือกบวมประมาณ 2-3 วันแรก จึงทำให้มีอาการปวดอยู่บาง ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด

อาการปวดบวมอาจส่งผลให้รับประทานอาหารลำบากใน 2-3 แรกเท่านั้น จึงแนะนำให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดฟันคุดควรหยุดพักผ่อนอยู่บ้าน 1 – 2 วันแรก ในการเข้ามาตัดไหมตามนัด ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะนัดมาภายใน 7-10 วันหลังผ่าฟันคุด

ผ่าฟันคุด

การเตรียมตัวก่อนผ่าฟันคุด ควรเตรียมอะไรบ้าง ?

  • ต้องเตรียม ฟิล์มเอกซเรย์ฟัน ที่ใช้ในการผ่าตัดฟันคุดมาด้วย ( สำหรับคลินิกที่ไม่มีบริการ เอกซเรย์ ในสถานที่ให้บริการ) หากไม่มีฟิล์มเอกซเรย์ฟันจะไม่สามารถผ่าฟันคุดได้
  • ลางาน ลาเรียน ล่วงหน้า 1 วันหลังผ่าฟันคุดในช่วงวันแรก เพราะหลังผ่าฟันคุดจะรู้สึกปวด บวม บริเวณแผลที่ผ่า ฉะนั้นคุณควรพักผ่อนอย่างน้อย 1 วันจะดีที่สุด 
  • ควรหยุดกินยา หรือ ควรกินยาบางชนิดตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด หากมียาที่ต้องทานประจำสามารถนำไปปรึกษาทันตแพทย์ก่อนได้เลย 
  • รับประทานอาหารให้อิ่มก่อนมาผ่าตัดฟันคุด และทำความสะอาดช่องปากให้เรียบร้อย 
  • แนะนำให้ซื้ออาหารอ่อน ๆ มาเตรียมไว้ เช่น  เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม เพื่อความสะดวกสบายในการพักฟื้น 
  • สวมเสื้อผ้าที่สะดวกสบายต่อการนอนผ่าตัด เพราะการผ่าตัดฟันคุดจะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 30 – 90 นาที
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะมีการตรวจวัดความดันทุกครั้ง

อาการแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุดที่พบได้

สำหรับการผ่าตัดอาจจะพบอาการแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุดได้แต่ไม่บ่อย แต่คนไข้ควรจะรู้เอาไว้เพื่อให้สามารถเข้ามารักษาอาการที่เกิดขึ้นได้ทันที โดยมีดังนี้

  • การเปิดแผลทำให้เลือดออกไม่หยุดหรือมากเกินไป ทำให้ต้องกลับไปเย็บแผลใหม่ เพื่อให้แผลนั้นสมานกันได้เร็วที่สุด
  • การติดเชื้อหลังผ่าตัด อาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้ที่ดูแลรักษาแผลไม่ดี เช่น ทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้นในช่องปาก แผลบวมแดง หรือมีหนอง ควรรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่ทันตแพทย์สั่งและติดต่อทันตแพทย์หากมีอาการเหล่านี้
  • ฟันซี่ข้างเคียงเกิดการเสียหาย หรืออวัยวะโดยรอบได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด เช่น กระดูกขากรรไกร หรือไซนัส
  • ภาวะเยื่อบุแห้ง (Dry socket) เกิดจากการที่ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในช่องฟันหลังการผ่าตัดหลุดออกไป ทำให้กระดูกขากรรไกรและเส้นประสาทสัมผัสกับอากาศและอาหาร เกิดอาการปวดรุนแรงและอักเสบขึ้นในบริเวณแผล
  • เส้นประสาทเสียหาย มักเกิดกับผู้ที่มีฟันคุดขึ้นเป็นแนวนอนและอยู่ใกล้เส้นประสาท อาจเกิดการบาดเจ็บที่เส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการชา หรือเสียความรู้สึกบริเวณลิ้น ริมฝีปาก กระดูกขากรรไกรหรือคาง ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้นหรือเป็นถาวร
ผ่าตัดฟันคุด

ถอนหรือผ่าฟันคุด ที่ไหนดี ?

การถอนฟันคุด และการผ่าฟันคุดเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายให้ปลอดภัย และได้รับการดูแลที่ดีที่สุดด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถเข้ามารักษาได้ที่คลินิกทันตกรรม Dio Dental Clinic เพราะการผ่าตัดฟันคุดที่ขึ้นไม่ตรงนั้นจะต้องรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางการผ่าฟันคุดเท่านั้น ซึ่งคลินิกของเรามีทันตแพทย์เฉพาะทางประจำอยู่เพื่อให้บริการคนไข้ทุกวัน สามารถเข้ามาติดต่อและจองคิวที่หน้าเพจ Face book หรือโทรมาสอบถามก่อนได้เลย

ราคาผ่าฟันคุด และถอนฟันคุดเท่าไหร่ ?

ราคาการถอนฟันคุด *****

ราคาการผ่าฟันคุด *****

คำถามที่พบบ่อยในการผ่าตัดฟันคุด

ค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดแพงหรือไม่

ทางคลินิกของเรามีค่ารักษาในการผ่าฟันคุดอยู่ที่ 3000-4500 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการรักษา สามารถเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาช่องปากและค่าใช้จ่ายได้ที่คลินิก

ผ่าตัดฟันคุดจะหายภายในกี่ฟัน

สำหรับแผลผ่าตัดฟันคุดจะใช้เวลา 1–2 อาทิตย์ในการประสานของแผล ซึ่งจะเป็นเวลาที่ทันตแพทย์จะนัดมาตัดไหมพอดี ในวันแรกเลือดออกหรือมีน้ำไหลห้ามป้วนแต่ให้กลืนเข้าไป หลีกเลี่ยงการทำให้เลือดไม่หยุดได้ แนะนำให้ปฏิบัตตามคำแนะนำของทันตแพทย์

ทำไมต้องผ่าฟันคุด ?

ฟันคุดถึงแม้ว่าจะเป็นฟันแท้ที่ขึ้นมาแต่เป็นซี่ที่อยู่ในสุด และไม่ได้สร้างประโยชน์ในการบดหรือเคี้ยวเลย แถมยังทำความสะอาดยาก ทำให้เกิดปัญหาฟันผุเหงือกอักเสบอยู่บ่อย ๆ และฟันคุดที่ขึ้นผิดปกติยังสามารถสร้างการสะสมของเศษอาหารอีกด้วย ทำให้ฟันข้างเคียงผุได้

อาการฟันคุด เป็นอย่างไร

มีฟันคุดที่ขึ้นผิดปกติจะนำมาซึ่ง อาการปวดบริเวณเหงือก เกิดการอักเสบติดเชื้อ อาการบวมที่แก้มและใบหน้า อาการเหงือกบวม ปวดไปยังฟันข้างเคียงที่ดันขึ้นแบบไม่ตรง ทำให้การผ่าตัดฟันคุดจึงเป็นวิธีที่สุดในการหยุดปัญหาเหล่านี้

ในการผ่าตัดฟันคุดยาชาจะอยู่ได้นานกี่ชั่วโมง?

ยาชาจะอยู่ได้นาน 2-4 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิด ปริมาณ และเทคนิคการฉีดยาชาที่ทันตแพทย์จะทำการประเมินวิธีการรักษา ทั้งนี้การฉีดยาชาในฟันล่าง ผู้ป่วยจะรู้สึกชานานและชาเป็นบริเวณกว้างกว่าการฉีดยาชาในฟันบน หลังยาชาหมดฤทธิ์ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทานยาแก้ปวดทันที

สรุป

ผ่าตัดฟันคุด ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเลย หากได้รับการรักษาและผ่าตัดกับทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้การผ่าตัดไม่เกิดความเจ็บช้ำบริเวณแผลมากเกินไป และใช้เวลาในการผ่าตัดรวดเร็ว จะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยที่สุด สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดฟันคุดสามารถเข้ามาที่ Dio Dental Clinic คลินิกทันตกรรมครบวงจร บริการด้วยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทุก ๆ สาขา สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาฟันกับเราที่นี่ได้ทุกวัน

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin