รักษารากฟัน คือ การคลองรากฟันที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ในคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นการบูรณะฟื้นฟูฟันที่เกิดจากความเสียหายจากการติดเชื้อลงไปในโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะเอาเนื้อเยื่อที่อักเสบและติดเชื้อที่อยู่ด้านในของฟันออก ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างระมัดระวัง จากนั้นจึงเริ่มบูรณะฟัน อุดฟัน โดยจะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำของฟัน และรักษาฟันธรรมชาติเอาไว้ รักษาฟันต่อไปได้โดยไม่ต้องถอนฟันทิ้ง
การรักษารากฟัน คืออะไร
คลองรากฟัน หรือ การรักษารากฟัน คือ เป็นขั้นตอนทางทันตกรรมที่จะนำเนื้อฟันที่ติดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟันออก การติดเชื้อในโพรงประสาทฟันเกิดจากการปล่อยให้ฟันผุแล้วไม่รักษา ทำให้เชื้อแบคทีเรียกัดกินฟันเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันซึ่งประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เส้นประสาท และหลอดเลือด ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่เสียหายหรือที่ติดเชื้อจะถูกเอาออกจากภายในฟันคนไข้ทั้งหมด
หลังจากเอาเยื่อออกแล้วทันตแพทย์จะทำความสะอาดโพรงฟันให้สะอาดหมดจด และทำการปิดโพรงประสาทด้วยวัสดุอุดฟันลงไปให้สนิท เนื้อเยื่อฟันที่กำจัดออกไปถูกแทนที่ด้วยวัสดุอุดฟันหรือครอบฟันใหม่ ขั้นตอนการรักษานี้จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญซึ่งทาง Dio Dental เรามีทีมทันตแพทย์ที่มีความชำนาญในการรักษารากฟันโดยเฉพาะสามารถรักษารากฟันได้อย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันทิ้ง
ทำไมต้องรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) เป็นการรักษาที่ทำเมื่อเยื่อในฟันหรือเรียกว่าเยื่อโพรงประสาทฟันที่อยู่ภายในรากฟันมีการติดเชื้อหรืออักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุลึก, การบาดเจ็บที่ฟัน, การแตกหรือหักของฟัน การคลองราฟันจะช่วยหยุดการติดเชื้อ ปรับสภาพช่องภายในรากฟันให้สะอาด แถมยังช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
เมื่อการคลองรากฟันเรียบร้อยจะช่วยให้ฟันที่มีปัญหาอยู่ได้นานขึ้น โดยไม่ต้องถอนฟันแท้ทิ้งไป แต่หากโพรง ประสาทฟัน และเนื้อเยื่อถูกทำลายไปเยอะมากเกินที่จะรักษาทันตแพทย์จำเป็นจะต้องถอนทิ้งเพื่อลดความเจ็บปวด และใส่ฟันปลอมหรือทำครอบฟัน ดังนั้นหากรู้สึกปวดฟันหรือเสียวฟันให้เข้ามาตรวจสุขภาพฟันโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันแท้ไป
สาเหตุการเกิดปัญหารากฟัน โพรงประสาทฟันติดเชื้อ
ฟันที่ได้รับความเสียหายจนต้องรักษาด้วยการคลองรากฟันสาเหตุหลัง ๆ มักจะเกิดจาก
- ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ติดเชื้อในโพรงประสาทฟันได้ง่ายที่สุด หากคนไข้ปล่อยให้ฟันผุไว้นาน แบคทีเรียจะกัดกินเนื้อฟันไปเรื่อย ๆ ขยายตัวเข้าไปในโพรงประสาทฟัน
- ฟันแตกหรือฟันราวที่ไม่รับการซ่อมแซม สามารถทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าถึงโพรงประสาทฟันได้ง่ายขึ้น แทรกซึมเข้าไปในฟันและทำให้ติดเชื้อ ต้องรักษารากฟัน
- ฟันที่ได้รับการกระทบกระเทือนมาก ๆ สามารถทำให้เยื่อประสาทภายในฟันตายได้ เช่น ฟันอาจมีอาการฟกช้ำจากการตกหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ
- การอุดฟันที่ไม่ดี การอุดฟันที่ไม่สมบูรณ์หรือการรักษาฟันที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อโพรงประสาทฟันสามารถทำให้ติดเชื้อในที่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่ติดเชื้อซ้ำได้
- การซ่อมแซมหลายครั้ง โดยเฉพาะการอุดหรือการทำฟอกสีฟันที่ทำลายเคลือบฟัน อาจทำให้ติดเชื้อได้ และทำให้เยื่อภายในฟันถูกรบกวน
อาการของการติดเชื้อโพรงประสาทฟันเป็นอย่างไร
เมื่อโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อฟันด้านในฟันถูกรบกวนแน่นอนว่า คนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดในฟันซี่นั้น ๆ เป็นอย่างมาก เพื่อให้สามารถรักษารากฟันได้อย่างทันท่วงทีอาการเหล่านี้จะบ่งบอกซึ่งปัญหารากฟันมีการติดเชื้อ และต้องเข้ามารับการรักษาได้ทันที
- อาการปวดฟันมาก ๆ อาจเป็นปวดแบบจี๊ด ๆ หรือปวดตุบ ๆ ในซี่ฟันที่เป็นปัญหา และอาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อทำฟันกระทบกัน หรือการกัดหรือเคี้ยวอาหาร
- ความไวต่ออุณหภูมิ จะเกิดอาหารเสียวฟันที่มากกว่าปกติ ฟันที่ติดเชื้อมักมีความไวต่ออาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากกว่าปกติ
- การบวมของเหงือก เมื่อโพรงประสาทรากฟันติดเชื้อจะทำให้บริเวณรอบ ๆ ฟันที่ได้รับผลกระทบอาจบวมและแดง ซึ่งบางครั้งอาจมีการบวมที่ขยายไปถึงใบหน้าหรือคอได้
- มีหนองหรือการมีรสชาติและกลิ่นไม่ดีอยู่ในช่องปาก ในกรณีมีการติดเชื้อของฟันรุนแรง อาจมีหนองหรือของเหลวออกมาจากบริเวณที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยวหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปาก
- ไข้ขึ้น เมื่อฟันอักเสบมาก ๆ เกิดการบวม ติดเชื้อมาก ๆ ทำให้บางกรณีอาจมีไข้เล็กน้อยเนื่องจากร่างกายพยายามต่อสู้กับการติดเชื้อ
จริง ๆ แล้วคนไข้ไม่ควรรอให้เกิดอาหารเหล่านี้ หรือรอให้เจ็บปวดมาก ๆ แล้วค่อยมาหาหมอฟัน ซึ่งมีความเสี่ยงที่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป
ทำไมถึงเกิดหนองปลายรากฟันในคนไข้รักษารากฟัน
การรักษารากฟันมักพบในคนไข้ที่มี การเกิดหนองปลายรากฟัน (Periapical Abscess) ซึ่งเกิดจากปัญหาฟันที่หนักมาก ๆ เช่นการปล่อยให้เกิดการฟันผุไว้เป็นเวลานานไม่ยอมรักษา เชื้อแบคทีเรียกัดกินลงไปถึงรากฟันทำให้เกิดการอักเสบมากทำให้มีหนองไหลออกมาได้ ทันตแพทย์จะทำการ x-ray หากมีหนองที่ปลายรากฟันจะเห็นเป็นเงาดำ ๆ ที่ปลายรากฟันนั้นเอง
ขั้นตอนรักษารากฟัน
การรักษารากฟันทางทันตกรรมมี 3 ขั้นตอน และใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 3 ครั้ง ซึ่งทันตแพทย์จะมีการนัดหมายในแต่ละครั้งเพื่อให้การรักษาเสร็จสิ้น โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน
ขั้นแรก ทันตแพทย์จะกำจัดสิ่งสกปรกและเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อทุกอย่างที่อยู่ภายในคลองรากฟันออก เมื่อผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่ในการทำเพื่อไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดการเสียวฟันขึ้นในขณะรักษา ทันตแพทย์ก็จะเจาะรูเล็ก ๆ บนผิวฟัน และกำจัดเนื้อเยื่อที่เป็นโรคและตายด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมขนาดเล็กมาก
2. การอุดคลองรากฟัน
จากนั้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาด สร้างรูปทรง และขจัดการปนเปื้อนบริเวณที่เป็นโพรง โดยใช้ตะไบขนาดเล็กและน้ำยา จากนั้นจึงอุดฟันด้วยวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันปิดคลองให้สนิท หลังจากรักษารากฟันแล้วฟันก็ตาย หลังรักษารากฟันผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในฟันนั้นอีกต่อไป เนื่องจากเนื้อเยื่อเส้นประสาทถูกเอาออก และปัญหาติดเชื้อก็หายไป
3. การเติมครอบฟัน
อย่างไรก็ตามฟันจะเปราะบางกว่าเดิม ฟันที่ไม่มีเนื้อฟันจะต้องได้รับการบำรุงจากเอ็นที่ยึดฟันไว้กับกระดูก ปริมาณที่เหมาะสม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฟันก็จะเปราะมากขึ้น ดังนั้นการครอบฟันหรือการอุดฟันจึงช่วยป้องกันได้ หลังจากครอบฟันผู้ป่วยไม่ควรเคี้ยวหรือกัดฟันจนกว่าจะครอบฟันหรืออุดฟันเสร็จ เมื่อครอบฟันหรืออุดฟันเสร็จแล้วก็สามารถใช้ฟันได้เหมือนเดิม
รักษารากฟันแตกต่างจากการถอนฟัน และอุดฟันอย่างไร
การรักษารากฟัน เป็นการคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันทั้งซี่ที่ได้รับความเสียหายหนักจากสาเหตุที่เราแนะบอกไปข้างต้น เป็นวิธีการรักษาฟันที่ติดเชื้อแบคทีเรียทะลุโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์ก็จะทำการเคลียร์เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและที่มีการอักเสบที่ปลายรากฟันออกไปให้สะอาด แล้วค่อยปิดช่องว่างฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว หากเนื้อฟันด้านบนถูกทำลายไปด้วย การจะมีการรักษาด้วยการครอบฟันเพิ่มเติมเพื่อกลับมาใช้งานในตามปกติ
แต่สำหรับการอุดฟัน จะเป็นการรักษาเนื้อฟันด้านบนที่ถูกเชื้อแบคทีเรียกัดกินเพียงเล็กน้อยไม่ลงไปลึกถึงรากฟัน ทันตแพทย์จะขจัดบริเวณที่เกิดฟันผุและอุดด้วยวัสดุอุดฟันเข้าไป แต่หากต้องถอนฟันแสดงว่าทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าฟันที่มีปัญหาอาจติดเชื้อโรคมีการอักเสบเยอะมา ๆ ไม่สามารถรักษารากฟันได้ต้องสูญเสียฟันแท้ไป ทำให้ทางเดียวที่จะรักษาการเจ็บปวดได้คือการถอนฟัน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การถอนฟัน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การอุดฟัน
ประเภทของการรักษารากฟัน
1. การรักษารากฟันโดยใช้วิธีการทั่วไป
ทันตแพทย์ใช้รังสีเอกซ์เพื่อวัดความยาวของคลองรากฟัน จากนั้นใช้ไฟล์ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน ทำความสะอาดด้านในของคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อและแบคทีเรีย หลังรักษารากฟันให้สะอาดจึงใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน (gutta percha) และฟันจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวรจนกว่าช่องประสาทและคลองรากฟันจะปลอดเชื้อโรคอย่างสมบูรณ์ ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
2. ทำการรักษารากฟันโดยใช้การผ่าตัดบริเวณปลายรากฟัน
ใช้รักษารากฟันที่มีปัญหาเยอะมาก ๆ หรือรักษาวิธีการแรกไม่ คุณหมอก็จะใช้การผ่าตัดที่ปลายรากฟันที่ได้รับผลกระทบ โดยรากฟันจะถูกเอาออกบางส่วน ปัจจุบันมีกล้องไมโครศัลยกรรมที่สามารถช่วยเพิ่มกำลังขยายให้มองเห็นคลองรากฟันเล็ก ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและผ่าตัดส่วนที่มีปัญหาได้แม่นยำ และผ่าตัดสำเร็จตามที่ต้องการ จากนั้นจึงเติมรากฟันด้วยวัสดุอุดลงไปที่ปลายรากฟันที่สะอาด วัสดุนี้ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
การเตรียมตัวก่อนการรักษารากฟัน
ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษารากฟัน การเตรียมตัวก่อนการรักษารากฟันที่คนไข้ต้องรู้มีดังนี้
- ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ครอบฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพที่ดีพอที่จะรับการรักษา แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบถึงประวัติโรคประจำตัวและยาที่กำลังรับประทานอยู่
- ทันตแพทย์อาจจะสั่งยาแก้ปวดหรือยาปฏิชีวนะเพื่อลดการอักเสบของฟัน ให้เริ่มรับประทานตามที่แพทย์แนะนำก่อนการรักษา เพื่อลดความเจ็บปวดฟันหรือติดเชื้อที่เกิดขึ้น
- นัดหมายเข้ารับการรักษารากฟัน โดยทันตแพยท์มักจะทำการนัดหมาย 2 ครั้งในการรับการรักษารากฟัน ซึ่งครั้งแรกก็จะทำความสะอาดเนื้อเยื่อฟันที่มีการติดเชื้อและอักเสบให้สะอาดโดยใช้น้ำยาทางทันตกรรม
- นัดหมายครั้งที่ 2 ตรวจสอบโพรงประสาทฟันว่าปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะทำการอุดในคลองรากฟันในสนิท ตามวิธีการรักษา อาจจะมีการทำเดือยฟัน (core build up) เพื่อเป็นแกนกลางในการอุดฟันให้แข็งแรงขึ้นในคนไข้ที่กำจัดเนื้อเยื่อฟันออกไปเยอะ ๆ
การปฏิบัติตัวหลังรักษารากฟัน
หลังการรักษารากฟันเรียบร้อยให้ใช้งานได้ตามปกติ คนไข้สามารถดูแล
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวแรง ๆ ในฟันซี่นั้นที่รักษา จนกว่าจะได้รับการฟื้นฟูสมบูรณ์ เช่น การครอบฟัน (การใส่ฟันปลอม) เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันแตกหรือหัก
- ดูแลความสะอาดในช่องปากให้สะอาดเป็นพิเศษ แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างเบามือรอบ ๆ บริเวณที่รักษารากฟัน หลีกเลี่ยงการทำให้บริเวณนั้นระคายเคืองให้มากที่สุดป้องกันการอักเสบหรือติดเชื้อโรค
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ และมีความนุ่มเคี้ยวง่าย ในช่วงแรก ๆ หลังการรักษารากฟันเทียม
- หลีกเลี่ยงอาหารร้อนหรือเย็นจัดมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่า เพื่อไม่ให้เกิดอาการเสียวฟัน เจ็บหรือระคายเคืองที่บริเวณที่รักษา
- รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์สั่ง เช่น ไอบูโพรเฟน หากมีอาการบวมหรือปวดรุนแรงติดต่อทันตแพทย์ทันที
อาการหรือผลข้างเคียง จากการรักษารากฟัน
สิ่งที่คนไข้อาจจะเจอหลังจากการรักษารากฟัน มักจะมีอาการหรือผลข้างเคียงอยู่แล้วเพราะเป็นการรักษาปัญหาที่โพรงประสาทฟันติดเชื้อหรืออักเสบ อาจมีอาการหรือผลข้างเคียงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- ความเจ็บปวดหลังการรักษารากฟัน แน่นอนว่าคนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายที่ฟันซึ่นั้นและบริเวณรอบ ๆ ซึ่งจะเป็นในช่วงแรกหลังการรักษาเท่านั้น และสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- เกิดการอักเสบ บริเวณที่รักษาอาจมีอาการบวมหรือแดง เนื่องจากการตอบสนองต่อการรักษา โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะหายไปเองในไม่กี่วัน
- ติดเชื้อที่บาดแผลหรือรากฟัน อาจจะมีโอกาสเล็กน้อยที่ติดเชื้ออาจยังคงมีอยู่หรือกลับมาเกิดใหม่หลังการรักษา หากมีอาการปวดเรื้อรังหรือมีการรั่วของวัสดุอุดฟันจากรอบ ๆ ฟัน ควรติดต่อทันตแพทย์ทันที
- ฟันเกิดแตกหรือหัก ฟันที่ได้รับการรักษารากอาจเปราะบางกว่าปกติ และอาจแตกหรือหักได้ง่าย โดยเฉพาะหากไม่ได้ทำครอบฟันเพื่อปกป้องฟัน ดังนั้นจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่ไม่แข็ง
รักษารากฟันกี่วันหายปวด
ในการรักษารากฟันถือเป็นการรักษาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการถูกเชื้อโรคกัดกินเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันหรือรากฟัน ก่อนที่จะทำการรักษาคนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดมาก ๆ เป็นพิเศษอยู่แล้ว และการรักษาที่เข้าไปทำความสะอาดโดยจะต้องเจาะลงไปยังโพรงประสาททำให้คุณจะรู้สึกปวดมากใน 1-2 วันแรงอยู่แล้ว โดยคุณหมอจะให้ยาแก้ปวด และอาการปวดจะลดลงเรื่อย ๆ ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะหายปวดสนิท
รักษารากฟัน กี่วันเสร็จ
สำหรับระยะเวลาการรักษารากฟัน โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะนัดคนไข้เข้ามารับการรักษารากฟัน 2-3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งแรงจะเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อทำความสะอาดฟัน และตรวจสอบฟันซี่นั้น ๆ ว่าจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่ แล้วนัดเข้ามาอุดฟันปิดครองฟันอีกครั้งในสัปดาห์ต่อไป แต่หากมีการทำครอบฟันอาจจะใช้เวลามากกว่านั้น ทำให้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของคนไข้ในการรักษาแต่ละคนจะอยู่ที่ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการรักษารากฟัน ที่แทรกซ้อนของโรค
รักษารากฟัน เจ็บไหม
รักษารากฟันเจ็บไหม หากพูดว่าไม่เจ็บปวดก็คงจะโกหก เพราะปัญหาเกิดขึ้นที่โพรงประสาทรากฟัน และมีการรักษารากฟันในคลองรากฟันจึงเกิดความเจ็บปวดอยู่แล้ว ซึ่งความเจ็บปวดนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะได้รับการรักษา หากรักษาเรียบร้อยแล้วอาการปวดจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์อย่างแน่นอน อาจจะเจ็บปวดมากในช่วงแรงในการรักษา แต่ก็ดีกว่าการปล่อยให้ฟันติดเชื้อไปเรื่อย ๆ จนต้องสูญเสียฟันไป
รักษารากฟัน ทำไมต้องกลับมาหาทันตแพทย์
แน่นอนว่าการรักษารากฟันทันตแพทย์จะเจาะฟันและกำจัดเนื้อเยื่อฟันข้างในออกไปจนเกือบหมด แล้วเติมวัสดุอุดฟันและทำเดือยฟัน (core build up) หรือบางคนอาจจะต้องทำการครอบฟัน (การใส่ฟันปลอม) เพื่อให้การรักษาไม่กลับมาเป็นซ้ำ การเข้าพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสอบฟันที่รักษารากฟันว่าวัสดุยังอุดติดเป็นอย่างดีไม่อยู่หรือไม่ โดยจะเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำได้อีกด้วย
เพื่อให้การรักษารากฟันไม่เกิดปัญหา ให้ทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งขัด หากพบความผิดปกติของฟันที่รักษารากฟันควรรักษาทันที
รักษารากฟัน ที่ไหนดี
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดฟันมาก ๆ และคิดว่ามีปัญหาที่โพรงประสาทฟันติดเชื้อโรค รักษารากฟันที่ไหน ดีสามารถเข้ามารับการรักษารากฟันกับ Dio Dental เพราะที่นี่มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องไม้เครื่องมีที่ทันสมัย ทำการรักษารากฟันอย่างปลอดภัย เพื่อให้ฟันสามารถใช้งานได้ปกติไม่มีปัญหา เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ค่าใช้จ่ายรักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่
มีค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟันจะขึ้นอยู่กับปัญหาและจำนวนซี่ฟันแต่ละซี่ โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่
ตำแหน่งรักษา | ราคา |
รักษารากฟันหน้าราคาเท่าไหร่ | xxxxx |
รักษารากฟันกรามน้อยราคาเท่าไหร่ | xxxxx |
รักษารากฟันกรามราคาเท่าไหร่ | xxxxx |
คำถามที่พบได้บ่อย (FAQ)
ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จัดฟันจะทำการรักษาฟันที่เกิดความเสียหาย หรือฟันที่เป็นปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน ถอนฟัน และรักษารากฟันให้หายก่อนถึงจะเริ่มทำการจัดฟัน
การรักษารากฟันจะใช้เวลาไม่นาน คนไข้ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 2-6 สัปดาห์ และในบางกรณีอาจจะมีการนัดหมายเพื่อมารักษารากฟันหลายครั้งขึ้นอยู่กับการดูแลและภาวะแทรกซ้อน
เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันที่ของคุณสูญเสีย การรักษารากฟันทันทีจะช่วยปกกันไม่ให้เกิดติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เพราะหากจำเป็นต้องถอนฟันออกจะทำให้เกิดช่องว่าง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และการทำฟันปลอด หรือ ทำรากฟันเทียบมี ค่าใช้จ่ายที่สูง
จะรู้สึกมีอาการปวดมาก ๆ หลังการรักษาเท่านั้น เมื่อทำการรักษารากฟันเพียง 1-2 อาการเจ็บปวดจะลดลง เพราะส่วนใหญ่ความเจ็บปวดจะมาจากปัญหาฟันที่เป็น แต่หากได้รับการรักษาอาการปวดเหล่านั้นจะหายไปในทันที
ไม่จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของฟัน และการถูกกำจัดเนื้อฟันออกไปมากแค่ไหน หากถูกกำจัดเนื้อฟันออกไป
บทสรุป
รักษารากฟัน จะเป็นการบูรณะฟันอักเสบหรือติดเชื้ออันเป็นผลมาจากฟันผุลึกลงไปยังโพรงรากฟัน เนื่องจากรักษาฟันไม่ดี สุขภาพช่องปากไม่สะอาด เกิดจากฟันหักหรือรอยแตกในฟัน การเข้ารับการรักษารากฟัน เนื้อเยื่อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อจะถูกเอาออก และด้านในของฟันจะถูกทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างระมัดระวัง จากนั้นจึงอุดและปิดผนึกด้วยวัสดุอุดฟัน และใส่ gutta-percha และอาจจะมีการครอบฟันเพิ่มเสริมความแข็งแรง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาฟันแท้เอาไว้ไม่ให้สูญเสียไปได้