ความรู้ทันตกรรม

ปวดรากฟันเกิดจากอะไร สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

28

มิ.ย.

ปวดรากฟันเกิดจากอะไร สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
Table of Contents

รู้หรือไม่ว่าอาการปวดรากฟันเกิดจากอะไร? และจะสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างอื่นได้อีกหรือไม่? ซึ่งอาการปวดรากฟันนี้จะรู้สึกปวดหรือเจ็บระหว่างการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะเวลาที่กัดหรือเคี้ยวก็จะรู้สึกเจ็บจึ๊ดขึ้นมา หรืออาจจะรู้สึกเสียวฟันอย่างมากจนทำให้การทานอาหารกลายเป็นเรื่องลำบากไปเลยก็ได้ และในบทความนี้จะพามาดูว่าอาการปวดรากฟันเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรให้หายขาด

อาการปวดรากฟันเกิดจากอะไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอาการปวดรากฟันจะมีหลายรูปแบบและมีความเจ็บปวดหลายระดับ โดยจะมีทั้งอาการปวดฟันเวลานอน ปวดบริเวณฟันกราม ปวดฟันมากตลอดเวลาหรืออาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เหงือกบวมแดง หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ปัญหาฟันผุทะลุโพรงประสาท เนื่องจากบริเวณโพรงประสาทเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งจะเต็มไปด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือด เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายเส้นประสาทและเส้นเลือดเหล่านั้น จะส่งผลให้รากฟันมีการติดเชื้อและอักเสบได้
  • รากฟันเป็นหนอง ซึ่งมีผลมาจากปัญหาทะลุโพรงประสาท และไม่ได้รับการอย่างทันเวลา
  • รากฟันละลายที่เกิดจากการจัดฟัน
  • เคยทำรากฟันเทียมแล้วเกิดการติดเชื้อบริเวณรากฟันเทียม
  • อุดฟันสูงเกินไป หรือวัสดุที่ใช้อุดฟันไม่แข็งแรง ทำให้หลุดออกหรือมีการแตกหัก ซึ่งจะส่งผลให้มีการติดเชื้อ
  • ปัญหาฟันคุดที่ยังไม่ได้ผ่าออก เนื่องจากฟันคุดสามารถทำให้เหงือกอักเสบได้ และหากมีการติดเชื้อลุกลามไปยังรากฟัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดรากฟันตามมา

วิธีรักษาอาการปวดรากฟัน

บรรเทาอาการด้วยตัวเอง

บรรเทาอาการด้วยตัวเอง

หากรู้สึกปวดฟันขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ในทันที สามารถใช้วิธีการบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเองก่อน โดยการทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งยาแก้ปวดก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อ หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือระดับความปวดของแต่ละคน

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
  • ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ยานาพรอกเซน (Naproxen)
  • ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
  • ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ NSAIDs

และนอกจากการทานยาแก้ปวดแล้ว ยังมีวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการระหว่างรอไปพบทันตแพทย์ได้โดยเลี่ยงพฤติกรรมที่จะกระตุ้นอาการปวดฟัน เช่น 

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารเย็นจัด ร้อนจัด เปรี้ยวจัด หรือหวานจัด
  • บ้วนปากหรือกลั้วปากด้วยน้ำเกลือเพื่อให้ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถใช้น้ำเกลือหรือน้ำอุ่นผสมกับเกลือก็ได้
  • แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดเศษอาหารที่อาจติดอยู่ตามซอกฟัน

รักษาทางทันตกรรม

รักษาทางทันตกรรม

อาการปวดรากฟันสามารถรักษาทางทันตกรรมได้ 2 วิธี คือการถอนฟันและรักษารากฟัน ซึ่งวิธีการถอนฟันนั้นจะสามารถทำได้ในกรณีที่มีปัญหาฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือการอักเสบและมีการติดเชื้อในเนื้อเยื่อรากฟันจนทำให้เชื้อแบคทีเรียลุกลามไปถึงรากฟัน

ส่วนวิธีการรักษารักษารากฟัน จะเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาปัญหารากฟันอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะทำการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและบริเวณรากฟันที่มีการติดเชื้อและเกิดการอักเสบ จนทำให้รู้สึกปวดรากฟันนั่นเอง ซึ่งทันตแพทย์จะมีการพิจารณาสภาพปัญหาฟันและประเมินว่าจะต้องผ่าตัดปลายรากฟันร่วมด้วยหรือไม่

บทสรุป

การรักษาอาการปวดรากฟันโดยการรักษารากฟันถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราไม่ควรที่จะปล่อยผ่านกับอาการปวดรากฟันหรือคิดว่าเดี๋ยวก็หายไปเอง เพราะอาการปวดรากฟันอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงก็ได้

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือการเลือกคลินิกทันตกรรม โดยจะต้องเลือกคลินิกทันตกรรมที่มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ ทั้งในเรื่องการบริการหรือผลลัพธ์จากการรักษา ซึ่งในปัจจุบันสามารถค้นหาจากรีวิวผู้ใช้จริงได้ในแพลตฟอร์มทางออนไลน์ต่าง ๆ หรือในเว็บไซต์ของคลินิกเลยก็ได้เช่นกัน และสามารถเข้ามาทำการรักษาและคำปรึกษาได้ที่ Dio Dental เพราะที่นี่เรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำในการรักษาปัญหาทันตกรรมต่างๆ

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin
นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์
บทความล่าสุด
Follow Us