ความรู้ทันตกรรม

รากฟันเทียมทำมาจากอะไร? ข้อควรรู้ก่อนทำรากฟันเทียม

01

ก.ค.

รากฟันเทียมทำมาจากอะไร ข้อควรรู้ก่อนทำรากฟันเทียม
Table of Contents

รากฟันเทียมทำมาจากอะไร? บทความนี้มีคำตอบมาให้แล้ว เพราะว่าเป็นหนึ่งในคำถามที่คนที่ต้องการทำรากฟันเทียมสงสัยมากที่สุด เนื่องจากอาจจะมีความกังวลถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตรากฟันเทียม ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นวัสดุที่ปลอดภัย หายห่วงอย่างแน่นอน

รากฟันเทียมทำมาจากอะไร

รากฟันเทียมทำมาจากอะไร

โดยปกติแล้วรากฟันเทียมจะทำมาจากวัสดุไทเทเนียมที่มีลักษณะคล้ายกับน็อตหรือสกรู โดยจะทำการฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียฟัน ซึ่งวัสดุไทเทเนียมถือเป็นวัสดุที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุด แถมยังสามารถใช้เป็นฐานเพื่อใส่ฟันปลอม ทั้งฟันปลอมชนิดถอดได้และติดแน่น เพื่อช่วยให้ฟันปลอมสามารถยึดติดได้ดีมากขึ้น 

ในการทำรากฟันเทียมจะประกอบไปด้วย รากเทียม (Fixture), ตัวฐานรองรับ (Abutment) สำหรับเชื่อมระหว่างรากฟันเทียมและครอบฟันหรือส่วนรองรับฟันปลอม และตัวครอบฟัน (Crown) ที่มีสีและขนาดคล้ายคลึงกับฟันแท้ตามธรรมชาติมากที่สุด เรียกได้ว่ากลมกลืนไปกับฟันซี่อื่น ๆ เลยนั่นเอง

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
  • มีความสวยงามและการใช้งานเหมือนกับฟันแท้ตามธรรมชาติ
  • ไม่จำเป็นต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดโอกาสเกิดฟันล้ม ฟันเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม
  • เพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น

(เรียนรู้เพิ่มเติม: การปลูกรากฟันเทียมแบบทั่วไป ช่วยรักษาปัญหาฟันอะไรได้บ้าง มีวิธีการรักษาอย่างไร)

ข้อเสียของการทำรากฟันเทียม

  • มีราคาและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะไม่สามารถทำรากฟันเทียมได้ เพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงอาจส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีความเสี่ยงหากทำรากฟันเทียม จะต้องได้รับการดูแลจากทันตแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮฮล์เป็นประจำ มักจะเจอปัญหากระดูกไม่ผสานกับรากฟันเทียม และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

ก่อนที่จะทำรากฟันเทียมจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม โดยจะต้องตรวจสภาพช่องปากอย่างละเอียดแบบครบวงจร เพื่อดูสภาพฟันและปัญหาอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจะต้องซักประวัติและแจ้งประวัติการแพ้ยา และให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุด และเมื่อมีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการทำรากฟันเทียม โดยจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ปลูกกระดูกเหงือก

หากมีการประเมินว่าจำเป็นต้องปลูกกระดูกเหงือก ก็จะทำการปลูกกระดูกเหงือกก่อน ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ 

  • การปลูกกระดูกเหงือกที่ต้องใช้เวลาหลายเดือน กระดูกจึงจะสามารถรองรับรากฟันเทียมได้
  • การปลูกกระดูกเหงือกเล็กน้อย สามารถทำร่วมกับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมได้

2. การใส่รากฟันเทียม‍

หากไม่ได้มีการปลูกกระดูกเหงือกก็จะสามารถเริ่มต้นที่ขั้นตอนนี้ได้เลย โดยจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ และทำการเปิดเหงือกให้เห็นส่วนที่เป็นกระดูกเพื่อใส่รากฟันเทียมเข้าไปแทนที่ จากนั้นจะรอให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูก โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน เมื่อกระดูกยึดกับรากฟันเทียมแล้วจะทำการพิมพ์ปาก และใส่เดือยฟันเพื่อรองรับสะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอมที่ได้เลือกทำ

3. การใส่ทันตกรรมประดิษฐ์

ทันตแพทย์จะใส่สะพานฟัน ครอบฟัน หรือฟันปลอมตามที่คนไข้ได้เลือกทำ เพื่อให้สามารถใช้งานฟันได้ตามปกติ หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดมาตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์

วิธีดูแลรักษารากฟันเทียม

วิธีดูแลรักษารากฟันเทียม

เนื่องจากการทำรากฟันเทียมนั้นมีความคล้ายคลึงกับฟันแท้ตามธรรมชาติอย่างมาก จึงสามารถใช้วิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันตามปกติได้เลย

  • แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ควบคู่กับการใช้น้ำยาบ้วนปากและไหมขัดฟัน
  • หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง เช่น น้ำแข็ง หรือกระดูก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • พบทันตแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำ
  • ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน

รากฟันเทียมอยู่ได้นานกี่ปี

เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้ทำรากฟันเทียมคือไทเทเนียม ที่สามารถทำงานได้เหมือนฟันจริง ๆ โดยปกติแล้วอายุการใช้งานของรากฟันเทียมจะอยู่ประมาณ 20 ปี แต่หากมีการดูแล รักษารากฟันเทียมอย่างดี จะทำให้อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นสามารถอยู่ได้นานมากกว่านั้นหรือตลอดชีวิต

รากฟันเทียมหลุดได้ไหม

ต้องบอกว่าถึงแม้ว่าการทำรากฟันเทียมนั้นจะมีความแข็งแรง มีการยึดกับเหงือกที่ติดแน่น แต่ถึงอย่างนั้นรากฟันเทียมก็มีโอกาสหลุดได้เช่นกัน

แต่โอกาสที่รากฟันเทียมจะหลุดนั้นมีน้อยมาก จะเกิดจากหลากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น รากฟันเทียมโยกพร้อมกับมีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่วมด้วย ทั้งบวม เลือดซึม เจ็บ มีหนองซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการทำรากฟันเทียม หรืออาจจะมีเพียงอาการโยกซึ่งเกิดจากการที่ทันตแพทย์อาจจะขันตัวหมุดปิดไม่แน่นพอ

โดยหากเกิดอาการรากฟันเทียมโยก ควรรีบทำการเข้าพบทันตแพทย์ทันที เพื่อให้ทันตแพทย์ทำการรักษาโดยเร็วที่สุด

บทสรุป

การทำรากฟันเทียมมีระยะเวลาและขั้นตอนที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร และการทำรากฟันเทียมจำเป็นต้องใช้ทั้งเวลาและเงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจทำจะต้องศึกษารายละเอียดทั้งขั้นตอน กระบวนการ ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วนเสียก่อน เนื่องจากการทำรากฟันเทียมนั้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้รับ เพราะไม่ได้ฟันที่แข็งแรงกลับมาเท่านั้น แต่ยังได้ความมั่นใจกลับคืนมาด้วย

และหากกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมในการทำรากฟันเทียม ที่ Dio Dental นั้นพร้อมและยินดีให้บริการ Dio Dental คือคลินิกทันตกรรมที่มีเครื่องมือ อุปกรณ์ทันตกรรมที่สะอาดและทันสมัย ถูกใช้โดยทีมทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงและมีความเชี่ยวชาญในการรักษา ดูแลปัญหาทันตกรรมต่างๆ

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin