การถอนฟันน้ำนมในเด็ก เป็นการรักษาทางทันตกรรมสำหรับเด็กในกรณีที่มีความจำเป็นมาก เช่น ฟันน้ำนมผุมากจนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ ฟันผุจนถึงโพรงประสาทฟัน หรือในกรณีที่ฟันน้ำนมไม่สามารถหลุดได้เอง แต่มีฟันแท้ขึ้นมาแล้ว ก็จะใช้วิธีการถอนฟันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีข้อสงสัยว่าการถอนฟันน้ำนมในเด็กมีความปลอดภัยมากแค่ไหน หรือจะเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
การถอนฟันน้ำนม คืออะไร
การถอนฟันน้ำนมในเด็ก คือ กระบวนการรักษาทางทันตกรรม ซึ่งจะเป็นตัวเลือกท้าย ๆ สำหรับการรักษาฟัน เนื่องจากว่าเป็นการถอนฟันน้ำนมซี่นั้น ๆ ออกไปเลย จึงนิยมทำในกรณีที่ไม่สามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้แล้ว อาจเกิดจากการที่ฟันน้ำนมผุมากและไม่สามารถอุดฟันได้ หรือฟันน้ำนมผุจนโพรงประสาทฟันและไม่สามารถรักษารากฟันได้ การถอนฟันน้ำนมจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ โดยปกติแล้ว การถอนฟันน้ำนมสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
(อ่านเพิ่มเติม: ทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง? เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ปกครอง)
ถอนฟันน้ำนมด้วยตนเอง
การถอนฟันน้ำนมด้วยตนเอง เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกทำ แต่จะสามารถทำได้ในกรณีที่ฟันน้ำนมซี่นั้น ๆ ใกล้หลุดหรือโยกมากจนใกล้หลุดแล้ว ซึ่งตัวเด็กเองก็ใช้ลิ้นดุนจนหลุดเอง หรืออาจจะใช้มือดึงออกก็ได้
ถอนฟันน้ำนมโดยทันตแพทย์
การถอนฟันน้ำนมโดยทันตแพทย์ เป็นวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำในกรณีที่ฟันน้ำนมหลุดช้า หรือฟันผุมากจนต้องถอนออก เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาได้อย่างดี
ถอนฟันน้ำนมในเด็ก อันตรายหรือไม่
เนื่องจากการถอนฟันน้ำนมในเด็กมีอยู่ 2 วิธี นั่นคือ การถอนฟันน้ำนมด้วยตนเองและทำโดยทันตแพทย์ จึงต้องแยกเป็น 2 ประเด็น การถอนฟันน้ำนมด้วยตนเอง หากเป็นฟันน้ำนมที่ใกล้จะหลุดแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ เป็นเพียงการช่วยให้หลุดได้ไวขึ้น แต่การถอนฟันน้ำนมเองก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเหงือกบาดเจ็บหรือเลือดไหลไม่หยุดได้ หากไม่ได้ทำอย่างระมัดระวังหรือเหมาะสม
สำหรับการถอนฟันน้ำนมโดยทันตแพทย์ เป็นวิธีการรักษาฟันในกรณีที่มีความจำเป็นจริง ๆ ไม่ใช่เพียงการเร่งให้ฟันหลุดเร็วขึ้น แต่เป็นกรณีที่ฟันผุมาก หรือฟันน้ำนมหลุดช้า แต่ฟันแท้ขึ้นมาแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของทันตแพทย์ในการถอนฟัน ซึ่งก็จะเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย หากเลือกคลินิกทันตกรรมที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
ขั้นตอนในการถอนฟันเด็ก
ก่อนที่จะทำการถอนฟัน หมอฟันจะทำการพิจารณาและประเมินในแต่ละกรณีว่ามีความจำเป็นที่จะต้องถอนฟันหรือไม่ และเมื่อมีการประเมินแล้วว่าต้องได้รับการรักษา ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนดังนี้
- หมอฟันจะตรวจภายในช่องปากอย่างละเอียด เพื่อดูความพร้อมในการถอนฟันน้ำนม
- หมอฟันจะ X-ray ดูโครงสร้าง ลักษณะรากฟัน และตำแหน่งของฟันน้ำนมที่จะถอน
- หมอฟันจะป้ายยาชาเฉพาะที่ และจะฉีดยาชาบริเวณฟันน้ำนมที่จะถอน
- หมอฟันจะใช้เครื่องมือถอนฟันน้ำนมออก
เมื่อทำการถอนฟันน้ำนมเรียบร้อยแล้ว หมอฟันจะให้เด็กกัดผ้ากอซไว้ประมาณ 30 นาที โดยจะต้องกลืนน้ำลายหรือเลือดเข้าไปด้วย เพื่อให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น แต่หากเลือดยังไม่หยุดไหลภายใน 30 นาที จะต้องเปลี่ยนผ้ากอซใหม่ เพื่อให้เด็กกัดต่ออีกประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
วิธีดูแลหลังถอนฟันน้ำนม
เมื่อถอนฟันน้ำนมเสร็จแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลหลังจากถอนฟันน้ำนม ซึ่งจะต้องปฏิบัติดังนี้
- หากเด็กมีอาการเจ็บบริเวณเหงือก สามารถทานยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดที่สั่งจ่ายโดยทันตแพทย์เท่านั้น
- หากเด็กปวดระบมบริเวณเหงือก สามารถใช้วิธีประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดหรือการดูดจุกนม
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและมีรสจัด ในช่วง 2-3 วันแรก
- ควรให้เด็กทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป ในช่วง 2-3 วันแรก
- ควรให้เด็กบ้วนปากหลังทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารเข้าไปติดบริเวณที่ถอนฟัน
บทสรุป
การถอนฟันน้ำนมในเด็ก เป็นวิธีการรักษาฟันผุในกรณีที่ร้ายแรง หรือผุมากจนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดให้กับลูกของคุณอย่างมาก และอาจส่งผลต่อฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาอีกด้วย เพราะปกติแล้ว การรักษาฟันน้ำนมไว้เพื่อรอให้ฟันแท้ขึ้น เป็นกระบวนการปกติของร่างกาย และหากมีฟันผุที่ยังไม่ร้ายแรงมาก ทางหมอฟันก็ไม่แนะนำให้ถอนออก แต่จะรักษาไว้เพื่อรอให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสม
และที่ Dio Dental นั้นก็มีบริการถอนฟันทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก โดยทำการรักษาโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยเครื่องมือทันตกรรมที่ได้มาตรฐานและทันสมัย