ความรู้ทันตกรรม

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัยที่ควรรู้ เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม

08

ส.ค.

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัยที่ควรรู้ เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม
Table of Contents

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัย เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความสนใจ และเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เพื่อให้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางที่จะดูแลฟันในแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสมด้วย โดยเฉพาะสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยและง่าย เพราะเด็กยังไม่สามารถดูแลรักษา หรือทำความสะอาดได้ดีมากพอ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด และค่อย ๆ ปลูกฝังให้ลูกรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี

ความสำคัญของฟันน้ำนม

ความสำคัญของฟันน้ำนม

เนื่องจากฟันซี่แรกของลูก คือชุดฟันน้ำนม มีบทบาทสำคัญที่เชื่อมโยงต่อพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน โดยฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ ด้านบนและด้านล่าง ซึ่งในแต่ละด้านจะประกอบไปด้วย

  • ฟันหน้าซี่กลางด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่
  • ฟันหน้าซี่ข้างด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่
  • ฟันเขี้ยวด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่
  • ฟันกรามซี่แรกด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่
  • ฟันกรามซี่ที่สองด้านบน 2 ซี่ และด้านล่าง 2 ซี่

ส่งผลต่อรูปหน้าของเด็ก

ฟันน้ำนมที่ขึ้นมาแบบสมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว ช่วยให้เด็กมีรูปหน้าปกติ เพราะฟันมีผลต่อรูปหน้าของเรา หากมีปัญหาฟัน เช่น ฟันยื่น ฟันสบไม่ปกติ ก็อาจส่งผลให้รูปคางยาวผิดปกติหรือคางยื่นจนผิดปกตินั่นเอง 

ส่งผลต่อการออกเสียง

ฟันน้ำนมที่ขึ้นมาตามลำดับอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยในเรื่องการออกเสียงของเด็กได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มพูดหรือเริ่มเรียนรู้การออกเสียง เด็กจะสามารถออกเสียงได้อย่างชัดเจน

ส่งผลต่อพัฒนาการด้านร่างกาย

หากฟันน้ำนมขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสม และได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างทั่วถึง เด็กก็จะไม่มีปัญหาฟันผุมาขัดขวางในการทานอาหาร และได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างเต็มที่ เพราะจะสังเกตว่าเด็กที่มีปัญหาฟันผุ มักจะหลีกเลี่ยงการทานอาหาร เนื่องจากรู้สึกเจ็บนั่นเอง

ส่งผลต่อการขึ้นของฟันแท้

บทบาทหน้าที่สำคัญของฟันน้ำนม คือเป็นการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นมาตามช่วงวัย และเป็นฟันที่จะอยู่กับเราไปจนโต ดังนั้น หากดูแลฟันน้ำนมได้ไม่ดีพอ อาจจะส่งผลต่อการเกิดปัญหากับฟันแท้ตามมาได้

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัย

อย่างที่ทราบกันว่าฟันของคนเราจะประกอบไปด้วยช่วงของฟันน้ำนมและฟันแท้ และฟันน้ำนมก็จะขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนและเตรียมพื้นที่ว่างให้กับฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ฟันน้ำนมแถวบน (upper teeth)

  • ฟันหน้าซี่กลาง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 8-12 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 6-7 ปี
  • ฟันหน้าซี่ข้าง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 9-13 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 7-8 ปี
  • ฟันเขี้ยว 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 16-22 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 10-12 ปี
  • ฟันกรามซี่แรก 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 13-19 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 9-11 ปี
  • ฟันกรามซี่ที่สอง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 25-33 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 10-12 ปี

ฟันน้ำนมแถวล่าง (lower teeth)

  • ฟันหน้าซี่กลาง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 6-10 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 6-7 ปี
  • ฟันหน้าซี่ข้าง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 10-16 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 7-8 ปี
  • ฟันเขี้ยว 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 17-32 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 9-12 ปี
  • ฟันกรามซี่แรก 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 14-18 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 9-11 ปี
  • ฟันกรามซี่ที่สอง 2 ซี่ เริ่มขึ้นช่วง 23-31 เดือน และจะหลุดช่วงอายุ 10-12 ปี

พัฒนาการของฟันแท้

พัฒนาการของฟันแท้

ปกติแล้วฟันแท้จะมีทั้งหมด 32 ซี่ เป็นฟันซี่บน 16 ซี่ และฟันซี่ล่าง 16 ซี่ โดยจะเริ่มขึ้นซี่แรกช่วงอายุประมาณ 6 ปี เป็นฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นฟันน้ำนม เพราะขึ้นมาบริเวณถัดจากฟันน้ำนมซี่ในสุดเข้าไป และไม่ได้ขึ้นแทนฟันน้ำนม 

เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12-13 ปี ฟันแท้จะขึ้นเป็นจำนวน 28 ซี่ และช่วงอายุประมาณ 18 ปี ฟันแท้อีก 4 ซี่ ขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นฟันกรามทั้งหมดจนครบจำนวน 32 ซี่ ซึ่งก็คือชุดของฟันคุดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี และหากมีการขึ้นที่ผิดปกติก็จะต้องถอนฟันหรือผ่าออกนั่นเอง

บทสรุป

พัฒนาการของฟันเด็กแต่ละช่วงวัยมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เห็นว่าฟันน้ำนมและฟันแท้แต่ละซี่จะขึ้นมาในช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองเตรียมรับมือในการดูแลและทำความสะอาดฟันอย่างเหมาะสม เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เด็กจะมีอาการเจ็บเหงือก ตัวอุ่น แก้มมีสีแดง หรือมีผื่นขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัวในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ควรเลือกคลินิกทันตกรรม อย่าง Dio Dental เป็นผู้ช่วยในการดูแลฟันของลูกของคุณ เพราะมีให้บริการทันตกรรมสำหรับเด็กและมีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการดูแลฟันของเด็ก และสามารถรับมือต่อความกลัวหมอฟันของเด็กได้เป็นอย่างดี

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin