ความรู้ทันตกรรม

เจาะลึก การอุดฟันน้ำนม และฟันแท้ในเด็ก

15

ส.ค.

เจาะลึก การอุดฟันน้ำนม และฟันแท้ในเด็ก
Table of Contents

การอุดฟันน้ำนมและฟันแท้ในเด็ก เป็นหนึ่งในทันตกรรมสำหรับเด็กที่พบได้บ่อยสำหรับเด็ก ๆ ในช่วงวัยกำลังเติบโต เนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาฟันผุได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ยังมีฟันน้ำนมหรือในช่วงที่มีฟันแท้แล้ว หากมีการรับประทานอาหารแล้วไม่ได้แปรงฟันอย่างทั่วถึงหรือทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ก็จะก่อให้เกิดปัญหาฟันผุตามมาได้ ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็กถือว่าเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับเด็กเลยก็ว่าได้

อาการแบบไหนที่ควรพาเด็กไปอุดฟัน

อาการแบบไหนที่ควรพาเด็กไปอุดฟัน

การอุดฟัน เป็นกระบวนการรักษาโรคฟันผุทางทันตกรรม โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัย ซึ่งหากเด็กคนไหนที่มีปัญหาฟันผุ ก็ควรจะรีบพาไปทำการอุดฟัน ทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลามไปซี่นอื่น ๆ โดยจะสามารถสังเกตอาการฟันผุเบื้องต้นได้ดังนี้

  • รู้สึกปวดฟันมาก
  • รู้สึกเสียวฟันมากกว่าปกติ โดยเฉพาะตอนรับประทานอาหาร
  • เมื่อใช้ลิ้นสัมผัสบริเวณฟันซี่ที่ผุ จะรู้สึกว่ามีรูหรือหลุมที่ฟัน
  • มีคราบสีดำ สีน้ำตาล และสีขาว ซึ่งจะเริ่มจากจุดสีขาว แล้วค่อย ๆ กลายเป็นสีน้ำตาลและสีดำ

วัสดุอุดฟันสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง

1. วัสดุอมัลกัม

อุดฟันเด็กด้วยวัสดุอมัลกัมที่มีสีเทาหรือสีเงิน ปกติแล้วมักจะใช้สำหรับอุดฟันกรามเเละฟันกรามน้อย เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความเเข็งเเรงทนต่อเเรงบดเคี้ยวได้ดี แต่ในการอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัมนั้นจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกมากกว่า เพราะต้องการความหนาของวัสดุให้เพียงพอต่อความแข็งแรง และเพื่อให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่ก่อนใช้งาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันซี่นั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

2. วัสดุคอมโพสิตเรซิน

อุดฟันเด็กด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซินที่ทำจากโพลีเมอร์ที่มีสีคล้ายฟันธรรมชาติ โดยจะมีเฉดสีให้เลือกแบบใกล้เคียงกับสีฟันของเด็กแต่ละคนมากที่สุด ในการอุดฟันนั้นจะทำการกรอฟันเล็กน้อย เพียงเนื้อฟันที่เสียออกเท่านั้น วัสดุแข็งตัวทันทีหลังจากการอุด สามารถใช้งานได้ทันที แต่ควรจะระมัดระวัง เนื่องจากสีฟันจะเปลี่ยนง่าย ติดสีเข้มจากอาหารและเครื่องดื่มง่ายกว่าปกติ 

3. วัสดุอุดฟันชั่วคราว

อุดฟันเด็กด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว เพื่อปิดคลุมฟันรอการรักษาอื่น ๆ โดยจะสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่โพรงประสาทฟัน ในช่วงที่รอการรักษาอื่น ๆ ในครั้งถัดไป และเนื่องจากวัสดุมีความนิ่มมากและหลุดง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุดฟันชั่วคราวในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรก

4. กลาสไอโอโนเมอร์

อุดฟันเด็กด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซึ่งเป็นวัสดุอุดฟันสีขาว โดยจะสามารถปล่อยฟลูออไรด์ออกมาจากเนื้อวัสดุเองได้ เหมาะกับการอุดฟันในบริเวณที่ไม่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมาก และไม่เหมาะกับการอุดฟันน้ำนม เพราะอาจจะไม่แข็งแรงเท่าวัสดุอุดฟันประเภทอื่น แต่ก็ถือเป็นวัสดุอุดฟันที่ป้องกันการกัดกร่อนได้ในระดับสูง นิยมใช้ในเด็กที่มีปัญหาฟันผุมาก

ขั้นตอนในการอุดฟันเด็ก

ขั้นตอนในการอุดฟันเด็ก

การอุดฟันเด็กจะต้องทำโดยคลินิกทันตกรรมที่มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ให้อุดฟันได้ หรือแม้แต่การรับมือกับความเจ็บปวดด้วย ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้

  • ตรวจเช็กภายในช่องปากอย่างละเอียด เพื่อดูว่าจะต้องอุดฟันซี่ไหนบ้าง
  • พิจารณาว่าฟันที่ผุ ควรจะเลือกใช้วัสดุอะไรให้เหมาะสมมากที่สุด
  • ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ทางทันตกรรมในบริเวณฟันซี่ที่จะอุด
  • เริ่มต้นจากการใช้เครื่องมือกำจัดเนื้อฟันที่เสียหายหรือผุออกก่อน
  • ใช้เครื่องมือกำจัดแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ออก เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับอุดฟัน
  • จากนั้นจะทำการรองพื้นฟันด้วยวัสดุรองพื้น ในกรณีที่ฟันผุใกล้รากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นประสาทฟันเสียหายขณะอุดฟัน
  • ทำการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันที่เตรียมไว้
  • ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการขัดแต่งผิวฟันให้เหมือนรูปทรงของฟัน เพื่อให้สามารถใช้งานได้เหมือนฟันตามธรรมชาติ

บทสรุป

การอุดฟันน้ำนมและฟันแท้ในเด็ก เป็นการรักษาฟันผุที่มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย แม้กระทั่งการอุดฟันน้ำนม เนื่องจากทำมาจากวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ แต่การทำทันตกรรมทุกรูปแบบ จะต้องได้รับการประเมินและพิจารณาจากทันตแพทย์ก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ หรือควรจะวางแผนการรักษาอย่างไรให้เหมาะสมและตรงจุดมากที่สุด โดยเฉพาะการทำฟันเด็ก เพราะเป็นช่วงวัยที่ยังไม่สามารถให้ความร่วมมือได้เหมือนกับผู้ใหญ่ จึงต้องใช้จิตวิทยาในการรักษาและรับมือกับเด็กได้อย่างดี

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยของคุณมาใช้บริการอุดฟันได้ที่ Dio Dental เพราะที่นี่มีทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดูแลฟันและช่องปากให้กับเด็ก ๆ สามารถรับมือกับการทำฟันเด็กได้เป็นอย่างดี

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin