ความรู้ทันตกรรม

เหงือกบวมหนักมาก อย่าปล่อยไว้นาน เสี่ยงสูญเสียฟันจริง

09

ต.ค.

เหงือกบวมหนักมาก อย่าปล่อยไว้นาน เสี่ยงสูญเสียฟันจริง
Table of Contents

ปัญหาเกี่ยวกับเหงือกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การปล่อยให้เหงือกเกิดอาการอักเสบนาน ๆ นั้นไม่ดีอย่างแน่นอน หากคุณรู้สึกปวดบริเวณเหงือกและเริ่มมีอาการเหงือกร่น จะทำให้ฟันของคุณหลวมและอาจหลุดออกมาได้ในที่สุด ภาวะเหงือกร่นยังทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก ซึ่งเป็นแหล่งรวมของแบคทีเรียที่จะสร้างขึ้นและทำให้เกิดการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคเหงือกได้

ภาวะเหงือกอักเสบ และภาวะเหงือกร่นเป็นปัญหาที่พบบ่อย เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ใหญ่ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นโรคปริทันต์ หรือ โรงเหงือก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังภาวะเหงือกร่น และทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ ทำให้ฟันสามารถหลุดออกมาได้ และการรักษาฟันที่สูญเสียไปนั้นจะต้องรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก ๆ ดังนั้นวันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคเหงือก และปัญหาเหงือกต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต

โรคเหงือกคืออะไร ?

โรคเหงือก (Gingivitis) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคปริทันต์ อาจทำให้เกิดปัญหาตั้งแต่กลิ่นปากไปจนถึงอาการปวดและการสูญเสียฟันได้ การที่มีเหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบเป็นระยะเริ่มแรกของโรคเหงือก อาจจะเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่ดี มีคราบพลัค และแบคทีเรียที่ก่อตัวบนฟัน ส่งผลให้เหงือกบวมแดงและมีเลือดออก ยิ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา หรือดูแลเหงือกและฟันให้สะอาดจะทำให้เสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียฟันจริงได้

ซึ่งคุณสามารถจัดการกับโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการบวมแดงเยอะ ๆ และอาการที่เกิดนั้นไม่หายสักทีควรที่จะต้องเข้ารับการช่วยเหลือจากทันตแพทย์โดยเร่งด่วน แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ ซึ่งโรคเหงือกที่รุนแรงจะทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูกในขากรรไกรของคุณ และทำให้ฟันของคุณหลุดออกมาในที่สุด

โรคเหงือกคือการอักเสบของเหงือกที่รุนแรง เหงือกเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่ออ่อนของปาก ทำหน้าที่รองรับฟัน หากไม่ทำการดูแลให้ดีและทำให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะการเกิดเหงือกอักเสบจะเกิดขึ้นบ่อยมากถ้าไม่ดูแลความสะอาดของช่องปาก และอาจทำให้เป็นโรคเหงือกที่รุนแรงขึ้นจนต้องเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์เท่านั้น บางคนอาจจะต้องได้รับการศัลยกรรมเหงือกด้วย

อาการของโรคเหงือกที่พบได้บ่อย

  • เหงือกแดงและบวม: โรคเหงือกมักจะแดงและบวมกว่ามาก และมีการเจ็บปวดร่วมด้วย
  • เลือดออกขณะแปรงฟัน : อาจเป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่าเหงือกมีการอักเสบและบวม โดยเลือดจะไหลออกมาเมื่อมีการกัดกร่อนของเหงือก
  • ระคายเคืองหรือรสชาติในปากเปลี่ยน : ผู้ที่มีโรคเหงือกอาจรู้สึกระคายเคืองเจ็บปวดหรือรสชาติในช่องปากเปลี่ยนไป
  • เหงือกร่นสูง: ในบางราย โรคเหงือกอาจทำให้เหงือกร่นสูง ซึ่งอาจทำให้ฟันเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเหงือกเป็นที่ประคองและปกป้องเนื้อเยื่อที่ยึดติดกับฟัน

โรคเหงือกเกิดจากอะไร ?

โรคเหงือกมักเกิดจากการสะสมของคราบพลัคบนฟันและรอบเหงือก คราบพลัคประกอบด้วยแบคทีเรียที่เกิดขึ้นบนฟันเมื่ออาหารผสมกับน้ำลาย หากไม่ถูกกำจัดอย่างเหมาะสมผ่านการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี จะทำให้เหงือกเริ่มมีการอักเสบซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเหงือก ทำให้เหงือกระคายเคือง บวม และเลือดออกขณะแปรงฟัน 

โรคเหงือกเกิดจากอะไร ?

เหงือกอักเสบมักเป็นอาการระดับเริ่มต้นที่สามารถป้องกันได้ง่ายและสามารถกลับมาสู่สภาวะปกติได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีในขั้นตอนแรก เหงือกอักเสบอาจพัฒนาไปเป็นโรคเหงือกแบบสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีความรุนแรงของเหงือกอักเสบที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาของการสูญเสียฟันได้ โดยสาเหตุของโรคเหงือกที่คุณควรระวัง คือ

  • การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี : การแปรงฟันและดูแลรักษาไม่เพียงพอหรือไม่ดี สามารถทำให้คราบพลัคและแคลเซียมสะสมบนฟัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อในเหงือก วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับคนจัดฟัน
  • การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่หรือการใช้ผลิตภัณฑ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าอื่น ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกได้ง่ายขึ้น
  • โภชนาการไม่ดี : อาหารที่ขาดสารอาหารที่จำเป็นโดยเฉพาะวิตามิน C สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและทำให้เหงือกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ยาบางชนิด: ยาบางชนิดทำให้เหงือกอ่อนแอลง เช่น ยาต้านความดันโลหิตสูง ยากันชัก เป็นต้น ซึ่งสามารถมีผลต่อสุขภาพเหงือก 
  • โรคทางการแพทย์ : โรคที่มีผลต่อสุขภาพเหงือก เช่น โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี/เอดส์ และโรคภูมิคุ้มกันโรคบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกได้ง่ายขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน : การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างมีประจำเดือน สามารถทำให้เหงือกมีความไวต่อการอักเสบได้
  • พันธุกรรม : บางคนอาจมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่สูงต่อการเป็นโรคเหงือก

วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบเบื้องต้น มีวิธีอย่างไร ?

การรักษาอาการเหงือกอักเสบเพื่อควบคุมการติดเชื้อและฟื้นฟูสุขภาพฟันและเหงือกให้ดีขึ้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันของคุณอย่างทั่วถึงเพื่อขจัดแบคทีเรีย คราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เป็นอันตราย การรักษาโรคเหงือกอักเสบ สำหรับใครที่กำลังรู้สึกว่ามีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาตัวเองในเบื้องต้นเพื่อทำให้อาการเป็นปกติได้ ดังนี้

  • การขูดหินปูนและการเกลารากฟัน : ขั้นตอนนี้คล้ายกับการทำความสะอาดฟันตามปกติ แต่จะเข้าถึงลึกลงไปใต้เหงือก การขูดหินปูนจะช่วยขจัดคราบหินปูนและแบคทีเรีย การเกลารากฟันจะทำให้พื้นผิวของรากฟันเรียบ และป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเกาะติด ซึ่งจะต้องทำกับทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น สามารถเข้าใช้บริการได้ที่ ดีโอ้ เดนทัล คลินิก ได้เลย
  • รักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดี : การทำความสะอาดฟันที่ดีมักจะช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบได้ดีที่สุด แต่คุณต้องรักษาความสะอาดเป็นประจำทุกวันไม่ว่าจะมีอาการเหงือกบวมหรือไม่ วิธีทำความสะอาดฟันอย่างเหมาะสมจะทำให้ทำความสะอาดได้อย่างหมดจด
  • น้ำยาบ้วนปากแบบลดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก : การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากต้านจุลินทรีย์สามารถช่วยทำลายแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกได้ และอย่าลืมใช้ไหม้ขัดฟันในการทำความสะอาดเป็นประจำ
วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบเบื้องต้น มีวิธีอย่างไร ?

สรุป

หากมีอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ อย่าปล่อยไว้นาน เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียฟันจริงได้ ดังนั้น การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำโดยทันตแพทย์จึงมีความสำคัญ รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมให้สะอาดจะทำให้เหงือกและฟันแข็งแรงอยู่เสมอ รวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อฟัน จะทำให้การเกิดโรคเหงือกมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยลง ถ้ามีอาการปวดบวมมาก ๆ ควรที่จะรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา และอย่ากลัวที่จะเข้าพบคุณหมอเพราะหากปล่อยไว้นานฟันของคุณอาจจะไม่เหลือเลยสักซี่ก็เป็นได้

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin