คุณเคยรู้สึกปวดฟันอย่างกะทันหันจนทนไม่ไหวหรือไม่ ? ในหลาย ๆ ครั้งเมื่อเรากัดไอศกรีม ดื่มน้ำเย็น ๆ หรือจิบซุปร้อน ๆ มักจะมักจะมีอาการปวดฟันเสีย ขึ้นมาก แสดงว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับฟันอย่างแน่นอน ในทางทันตกรรมเรียกว่า “เนื้อฟันแพ้ง่าย” อาการปวดฟันดังกล่าวมีสาเหตุมาจากเคลือบฟันหลุดร่อน มีรากฟันที่เปิดออก มีปัญหาฟันผุ โรคปริทันต์ (โรคเหงือก) ฟันร้าวหรือบิ่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดการเสียวฟันได้ทั้งหมด
อาการเสียวฟันเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถพบเจอได้บ่อย ๆ ทำให้หลายคนต้องปฏิเสธที่จะกินอาหารบางชนิดที่ชื่นชอบเพราะปัญหาที่สร้างความน่ารำคาญนี้ การมีฟันที่บอบบางทำให้การรับประทานอาหารหรือดื่มของแช่เย็น การกินหรือดื่มของร้อน การรับประทานของหวานมากเกินไป เกิดอาการเสียฟันได้ง่าย ๆ วันนี้ ดีโอ้ เดนทัล คลินิก จะพาทุกคนไปรู้จักกับปัญหาเสียวฟัน เพื่อป้องกัน รวมถึงวิธีการรักษา ได้ในบทความนี้
สาเหตุของอาการเสียวฟัน (Tooth Decay)
เสียวฟัน (Tooth Decay) เกิดจากกระบวนการที่เรียกว่าการกัดกร่อน (Dental Erosion) ซึ่งเป็นผลจากกระตุ้นเคลือบฟันหลุดละลายเนื่องจากกระทบจากสิ่งที่เป็นกรด ซึ่งสามารถเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดในรูปแบบของอาการเสียวฟัน สาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดเนื้อฟัน ได้แก่
- การแปรงฟันแรงมากเกินไปทำให้เคลือบฟันหลุด หรือมีวิธีการแปรงฟันที่ผิด
- การดูแลทันตกรรมในช่องปากหรือสุขอนามัยที่ไม่ดี
- รับประทานอาหารที่เป็นกรดบ่อยมากหรือบริโภคของเหลวที่เป็นกรด
- การผ่าตัดเหงือกทำให้เห็นรากฟัน
- เหงือกร่น (Gingival Recession) อาจทำให้รากฟันเผยออกมาได้
- ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา
- การสูบบุหรี่ ที่มีนิโคตินอาจส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนแร่ฟัน
- การฟอกสีฟัน
- โรคกรดไหลย้อน
- ฟันผุหรือการติดเชื้ออื่น ๆ
- การอุดฟันใหม่
- มีปัญหาฟันหักหรือร้าว
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุของอาการเสียวฟันที่พบได้บ่อย ๆ มาก และอาจสร้างปัญหาในการรับประอาหารจานโปรด การป้องกันการเสียวฟันนั้นสำคัญมาก โดยการรักษาความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอและลดการบริโภคสารกระตุ้นกรดสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียวฟันได้
วิธีการรักษาอาการเสียวฟันในเบื้องต้น
เมื่อคุณมีอาการเสียวฟันไม่ว่าคุณจะแปรงฟัน รับประทานอาหารและการดื่มน้ำเย็น ๆ แล้วทำให้เกิดอาการปวดฟันเฉียบพลัน อาการเสียวฟันมักเป็นผลมาจากการเคลือบฟันที่สึกหรอหรือรากฟันที่เปิดออกมาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการเสียวฟันอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฟันผุ ฟันร้าวหรือบิ่น อุดฟันสึก หรือโรคเหงือก และการเกิดหินปูนบนฟัน
หากคุณมีปัญหาเรื่องฟันเหล่านี้ควรไปพบทันตแพทย์เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อสาเหตุที่แท้จริงของอาการเสียวฟันของคุณได้ สำหรับวิธีการรักษาอาการเสียวฟันในเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้เอง และเป็นวิธีการป้องกันการเสียวฟัน ดังต่อไปนี้
- ใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน : ยาสีฟันสำหรับอาการเสียวฟันมีหลายยี่ห้อ เมื่อใช้เป็นประจำ คุณจะสังเกตว่าการเสียวฟันของคุณลดลง คุณอาจต้องลองหลายยี่ห้อเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่เหมาะกับคุณที่สุด
- ฟลูออไรด์ : การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลช่องปากมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเสียวฟัน ควรแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และใช้dental floss เพื่อทำความสะอาดระหว่างฟัน
- รักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดี: ปฏิบัติตามเทคนิคการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่เหมาะสมเป็นประจำทุกวัน เพื่อทำความสะอาดฟันและปากทุกส่วนอย่างทั่วถึง และไม่แปรงฟันแรงเกินไปจะช่วยไม่ให้ไปทำลายเคลือบฟัน
- ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม: การใช้แปรงฟันที่มีขนนุ่มไม่แข็งเกินไป ซึ่งจะทำให้แปรงสีฟันเสียดสีกับผิวฟันน้อยลงและระคายเคืองต่อเหงือกน้อยลง
- ระวังอาหารบ้างประเภท : การรับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูงเป็นประจำสามารถค่อย ๆ ละลายเคลือบฟันและนำไปสู่การสัมผัสกับเนื้อฟันได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ความรู้สึกเสียวฟันรุนแรงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการกัดฟัน : หากคุณกัดแบบไม่รู้ตัวในเวลานอน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อหาวิธีการป้องกันและรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ใช้เฝือกฟันในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันการเสียดสีของฟันที่กระทบกันทำให้เนื้อฟันบางลง
- พบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ : การรับการตรวจสุขภาพ การทำความสะอาด และการรักษาด้วยฟลูออไรด์เป็นประจำกับ ดีโอ้ เดนทัล คลินิก จะช่วยลดอาการเสียวฟันและได้เทคนิคการดูแลฟันที่ดีจากคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญกลับทุกด้านอีกด้วย
สรุป
หากคุณยังคงรู้สึกเสียวฟันอยู่ หรือมีอาการเสียวฟันมากขึ้นหากได้ทำตามคำแนะนำทั้งหมดนี้ไปแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์ทันตแพทย์ที่ดีที่สุด สำหรับใครที่ยังไม่มีอาการเสียวฟันเกิดขึ้น ก็สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ โดยให้แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม ยาสีฟันฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่มีฤทธิ์กัดกร่อน การรักษาอาการเสียวฟันในระยะเริ่มต้นมักใช้การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันความเสียหายที่เพิ่มขึ้นได้ดีอย่างแน่นอน