ความรู้ทันตกรรม

ส่องข้อดี-ข้อเสียของการทำรากฟันเทียม ก่อนตัดสินใจ

09

ก.ค.

ส่องข้อดี-ข้อเสียของการทำรากฟันเทียมก่อนตัดสินใจ
Table of Contents

ข้อดีข้อเสียของการทำรากฟันเทียมคือสิ่งที่คนไข้ที่มีความต้องการจะทำรากฟันเทียมนั้นควรศึกษาให้ดี รอบคอบก่อนที่จะทำ เพราะในบางครั้งการรากฟันเทียมนั้นอาจจะเหมาะกับคนไข้บางคน และคนไข้บางคนก็ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม รวมไปถึงเพื่อให้การรักษานั้นตรงกับความต้องการของคนไข้เอง เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อดีข้อเสียของการทำรากฟันเทียมนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

รากฟันเทียมคืออะไร

รากฟันเทียมคืออะไร

การทำรากฟันเทียม คือ การนำวัสดุไทเทเนียมฝังลงไปให้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรในบริเวณที่มีการสูญเสียฟันแท้ เพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติ ซึ่งรากฟันเทียมนั้นจะมีความแข็งแรง ทนทาน และจะสามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุด และเมื่อฝังรากฟันเทียมเข้าไปเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะทำการใส่ทันตกรรมประดิษฐ์ตามความต้องการหรือความเหมาะสม ซึ่งจะมีทั้งสะพานฟัน ครอบฟัน และฟันปลอม 

หลักการทำงานของรากฟันเทียม

รากฟันเทียมที่ทำจากวัสดุไทเทเนียมจะถูกฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร โดยจะมีแกนฟันเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรากเเละทันตกรรมประดิษฐ์ให้ติดแน่นเข้าด้วยกัน ซึ่งรากฟันเทียมจะสามารถผสานกับเนื้อเยื่อกระดูกขากรรไกรรได้เป็นอย่างดีและสามารถใช้งานได้เหมือนกับฟันแท้นั่นเอง

ต่างจากฟันปลอมถอดได้อย่างไร

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นฟันปลอมกันมาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นก็เป็นฟันปลอมแบบติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้าออกบ่อย ๆ และไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดในระหว่างการทำกิจกรรมหรือในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือก็คือจะให้ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับฟันซี่นั้น ๆ ไปเลย

ทำรากฟันเทียมอันตรายหรือไม่

การทำรากฟันเทียมเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่มีความปลอดภัยอย่างมาก เนื่องจากเป็นการใช้วัสดุไทเทเนียมที่มีความแข็งแรง และสามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุด จึงไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าการทำรากฟันเทียมเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงไม่จำเป็นต้องกังวลถึงอันตรายที่อาจจะตามมาหลังจากการทำ ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นไม่ได้มีข้อดีแค่เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีความใกล้เคียงกับฟันจริงมากที่สุด ทั้งสี ขนาด และการใช้งาน
  • มีวัสดุที่แข็งแรง ติดแน่นถาวร ทนทาน สามารถใช้งานได้ในระยะยาวกว่า 20 ปี
  • มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ไม่มีอาการแทรกซ้อน เช่น โรคเหงือก ตามมาในภายหลัง
  • มีความมั่นใจในการยิ้มและการพูดคุย ไม่ต้องกังวลว่าคนจะสังเกตเห็นฟันที่หายไป
  • ลดโอกาสเกิดฟันล้ม หรือการเคลื่อนตัวของฟันซี่ข้างเคียงฟันที่หายไป
  • ระบบบดเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพ มีความสุขกับการทานอาหารได้เหมือนเดิม
  • สามารถดูแลรักษา และทำความสะอาดได้ง่ายเหมือนฟันแท้ตามธรรมชาติ
  • ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเหงือกร่น เพราะไม่มีตะขอเหล็กเสียดสี
  • ไม่ต้องถอดฟันปลอมเข้า-ออกบ่อย 

ข้อเสียของการทำรากฟันเทียม

ข้อเสียของการทำรากฟันเทียม

เนื่องจากทุกการรักษาย่อมมีข้อดีและข้อเสีย การรักษารากฟันเทียมก็มีข้อเสียหรือข้อจำกัดที่จะต้องศึกษาไว้ก่อนตัดสินใจทำ ดังนี้

  • การทำรากฟันเทียมจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทำฟันปลอมทั่วไป
  • มีขั้นตอนที่เยอะกว่าการทำฟันปลอม
  • ใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการปลูกกระดูกสันเหงือกเพิ่ม
  • เป็นอันตรายสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยในบางโรค เช่น โรคเบาหวาน เพราะอาจเสี่ยงภาวะกระดูกเน่า
  • สามารถเกิดปัญหากระดูกไม่ผสานกับรากฟันเทียม หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าปกติ ในกลุ่มคนที่มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การทำรากฟันเทียมมีความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การติดเชื้อในตำแหน่งที่ฝังรากฟัน หรือเส้นประสาทบาดเจ็บจากการฝัง จนทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือชาในบริเวณนั้นได้
  • อาจมีอาการเจ็บหรือปวดหลังการผ่าตัด แต่สามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

บทสรุป

การศึกษาข้อดีและข้อเสียของการรักษาก่อนตัดสินใจทำรากฟันเทียมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะได้เตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และประเมินความคุ้มค่าในการทำ ซึ่งแน่นอนว่าการทำรากฟันเทียมนั้นมีประโยชน์และข้อดีมากมาย และเพียงพอสำหรับการตัดสินใจทำเพื่อทดแทนการสูญเสียฟัน ไม่ว่าจะจากการถอนฟันหรือการเกิดอุบัติเหตุก็ตาม

และถ้าหากคุณกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมสำหรับการทำรักษาฟันเทียม ที่ Dio Dental นั้นยินดีให้บริการ เพราะที่นี่เรามีเครื่องมือทางทันตกรรมที่ทันสมัย ปลอดภัยพร้อมในการรักษา รวมไปถึงทีมทันตแพทย์ก็มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สูง

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin