ความรู้ทันตกรรม

จัดฟันแบบใส Invisalign คืออะไร? ต่างจากรูปแบบอื่นอย่างไร

28

ส.ค.

จัดฟันแบบใส Invisalign คืออะไร
Table of Contents

จัดฟันแบบใส Invisalign คืออะไร? ทำไมจึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งเราจะเห็นดารา นักแสดง หรือคนที่มีชื่อเสียงเลือกจัดฟันแบบใสกันเยอะมากขึ้น เนื่องจากเป็นการจัดฟันที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่เห็นเครื่องมือจัดฟัน และไม่ใช่แค่กลุ่มคนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ในบางอาชีพก็เลือกจัดฟันแบบใส เพื่อไม่ให้มีความโดดเด่นมากจนเกินไป

จัดฟันแบบใส คืออะไร

จัดฟันแบบใส คืออะไร

จัดฟันแบบใส (Invisalign) คือ รูปแบบหนึ่งของการจัดฟันเพื่อรักษาและแก้ไขปัญหาฟัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและพบเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการจัดฟันที่ใช้เครื่องมือจัดฟันแบบใสจนแทบมองไม่เห็น แถมยังสามารถถอดออกเพื่อทำความสะอาดและทานอาหารได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีเศษอาหารเข้าไปติดบริเวณซอกฟันหรือติดที่เครื่องมือจัดฟัน

จัดฟันแบบใส แก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง

  • ปัญหาฟันซ้อนเก
  • ปัญหาฟันห่าง
  • ปัญหาการสบฟันผิดปกติ เช่น ฟันสบลึก ฟันสบเปิด
  • ปัญหาขากรรไกรผิดปกติ
  • ปัญหาฟันล้มจากการไม่ใส่รีเทนเนอร์

ต่างจากการจัดฟันรูปแบบอื่นอย่างไร

  • เป็นการจัดฟันประเภทถอดเครื่องมือจัดฟันออกได้
  • ทำความสะอาดภายในช่องปากได้ง่าย เพราะสามารถถอดเครื่องมือขณะแปรงฟันได้
  • สามารถถอดเครื่องมือขณะทานอาหารได้ หมดปัญหาเศษอาหารติดเครื่องมือจัดฟัน
  • เจ็บน้อยกว่าการจัดฟันรูปแบบอื่น

จัดฟันแบบใส เหมาะกับใคร

จัดฟันแบบใส เหมาะกับใคร

จัดฟันแบบใส (Invisalign) เป็นรูปแบบการจัดฟันที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรักษาและแก้ไขปัญหาฟัน โดยเฉพาะในกลุ่มดังต่อไปนี้

ดารา นักแสดง

ที่ไม่สามารถใส่เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นบนฟันได้

ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการความน่าเชื่อถือ

หรืออาชีพที่เป็นทางการที่ไม่ต้องการให้เห็นเครื่องมือชัดเจน เช่น ผู้บริหาร แอร์โฮสเตส ผู้พิพากษา เป็นต้น

ผู้ที่ต้องการจัดฟันแบบที่สามารถถอดได้

เพื่อทำความสะอาดภายในช่องปากได้ ลดความเสี่ยงต่อปัญหาฟันผุหรือมีกลิ่นปาก

ผู้ที่ไม่ต้องการเดินทางมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับเครื่องมือบ่อย ๆ

เนื่องอาจจะไม่ความสะดวกในวัน เวลาที่ทันตแพทย์ได้ทำการนัดหมาย

ขั้นตอนการจัดฟันแบบใส

ขั้นตอนการจัดฟันแบบใส

สำหรับการจัดฟันทุกรูปแบบ อันดับแรกจะต้องเข้ารับการประเมินสภาพปัญหาฟันจากทันตแพทย์ก่อน ว่าควรจัดฟันเพื่อรักษาหรือแก้ไขปัญหาฟันหรือไม่ และการจัดฟันแบบไหนถึงจะเหมาะสมมากที่สุด สำหรับการเตรียมตัวก่อนจัดฟันแบบใส นอกจากจะเตรียมความพร้อมของตัวเองแล้ว จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อมั่นใจแล้วก็จะมีขั้นตอนในการจัดฟันแบบใส ดังนี้

ทันตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียดและเคลียร์ช่องปากให้เรียบร้อย หากมีปัญหาฟันก็จะทำการรักษาก่อนจัดฟัน

  1. สแกนฟัน 3 มิติ โดยใช้นวัตกรรมสแกนฟันแบบ 3 มิติ เป็นแอนิเมชั่นแบบ 3 มิติ เพื่อจำลองตำแหน่งปัจจุบันของฟัน
  2. ทันตแพทย์จะทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาฟันและการวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
  3. หลังจากสแกนฟัน 3 มิติแล้ว จะส่งให้ทาง Invisalign เพื่อทำเครื่องมือจัดฟันเฉพาะบุคคล
  4. ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายและทดสอบความพอดีของการจัดฟันแบบใส หากมีการแก้ไขก็จะนัดเข้ามาใส่เครื่องมือจัดฟันแบบใสอีกครั้ง
  5. หลังจากจัดฟันแบบใสครบตามกำหนดการรักษาแล้ว จะใส่รีเทนเนอร์เพื่อรักษาสภาพฟันต่อไป

(อ่านเพิ่มเติม: รีเทนเนอร์คืออะไร สำคัญอย่างไรในการจัดฟัน)

ข้อควรระวังในการจัดฟันแบบใส

ข้อควรระวังในการจัดฟันแบบใส
  • การจัดฟันจำเป็นต้องใส่เครื่องมือจัดฟันอย่างน้อย 22 ชั่วโมงต่อวัน 
  • มีราคาและค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในการจัดฟันทุกรูปแบบ
  • เป็นรูปแบบการจัดฟันที่ไม่เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาฟันซ้อนเกอย่างรุนแรง 
  • หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง เพราะอาจทำให้เครื่องมือจัดฟันเสียหายได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเหนียว เช่น ลูกอมเคี้ยวหนึบ หมากฝรั่ง เพราะอาจติดเครื่องมือและทำความสะอาดยาก
  • หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เครื่องมือเสียหาย เช่น เอาอะไรไปจิ้มหรือดันเครื่องมือจัดฟัน 

บทสรุป

การจัดฟันแบบใส เป็นรูปแบบของการจัดฟันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เริ่มแรกจะเป็นความนิยมเฉพาะกลุ่มดารา นักแสดง หรือในกลุ่มที่ไม่ต้องการให้เห็นเครื่องมือชัดเจน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการจัดฟันแบบใส่กันมากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกสบาย สามารถถอดเพื่อทานอาหารและทำความสะอาดภายในช่องปากได้ และสำหรับใครที่ต้องการจัดฟันแบบใส ก็สามารถสอบถามกับทางคลินิกทันตกรรมเพื่อรับคำแนะนำและประเมินปัญหาฟันได้เลย

ที่ Dio Dental คลินิกทันตกรรมที่มีบริการจัดฟันแบบใส หรือ Invisalign ทำการรักษาโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการจัดฟันแบบใส รวมไปถึงการจัดฟันในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin
นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์
บทความล่าสุด
Follow Us