ใครบ้างที่สามารถรักษารากฟันเทียมได้? มักจะเป็นคำถามของผู้ที่มีปัญหาด้านทันตกรรมโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาในการสูญเสียฟัน ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นคือหนึ่งในวิธีการรักษาในปัญหานี้ และบทความนี้จะมีคำตอบว่าใครบ้างที่สามารถทำรากฟันเทียมได้ พร้อมบอกวิธีการดูแลตัวเองหลังจากการทำรากฟันเทียม
ใครรักษารากฟันเทียมได้บ้าง
แม้ว่าการทำรากฟันเทียมจะเป็นการรักษาเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันแท้ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยอย่างมาก แต่การทำฟันรากฟันเทียมไม่ได้เหมาะกับทุกคน หรือก็คือไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถรักษารากฟันเทียมได้นั่นเอง
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
เนื่องจากในช่วงอายุที่ยังไม่ถึง 18 ปีนั้นจะมีความเสี่ยงที่การรักษาอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
ผู้ที่สูญเสียฟันแท้
ไม่ว่าจะมาจากปัญหาสุขภาพฟันใดก็ตามแต่ หรือแม้แต่ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากการเกิดอุบัติเหตุ
ผู้ที่ต้องการใส่ที่ครอบฟัน
หรือสะพานฟันแบบติดแน่น โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุด
ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
เพราะอาจจะไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก จึงทำให้ฟันปลอมหลุดง่าย
ผู้ที่มีปัญหาเหงือกอักเสบ
หรือผู้ที่มีอาการติดเชื้อในบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม
ผู้ที่มีฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
และมีความต้องการทำรากฟันเทียมโดยไม่ต้องกรอฟัน
ผู้ที่ไม่อยากให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันตามมา
เนื่องจากการสูญเสียฟันอาจทำให้เกิดปัญหาฟันเคลื่อนตัว ฟันล้มเอียง หรือฟันซ้อนเก
ผู้ที่ไม่มีความมั่นใจในการยิ้มหรือพูดคุย
เนื่องจากสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติฟัน
ใครที่ไม่ควรรักษารากฟันเทียม
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถรักษารากฟันเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ซึ่งผู้ที่ไม่ควรรักษารากฟันเทียม ได้แก่
1. ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์
เนื่องจากการทำรากฟันเทียมอาจจะทำให้เกิดความเครียดหรือความกังวลได้ จึงควรทำหลังจากคลอดเรียบร้อยแล้ว
2. ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าปกติ และอาจทำให้กระดูกไม่ผสานเข้ากับรากฟันเทียม
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้
เช่น โรคเบาหวาน โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง หรือโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
4. ผู้ที่มีภาวะกระดูกไม่แข็งแรง
หรือผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
5. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ที่จะต้องได้รับการฉายแสงในบริเวณใบหน้าและขากรรไกร
การดูแลหลังทำรากฟันเทียม
หลังจากทำรากฟันเทียมเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีวิธีการดูแลหรือวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้การทำรากฟันเทียมมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดผลกระทบแทรกซ้อนตามมา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ได้แก่
หลังการทำในทันทีให้กัดผ้ากอซแน่น ๆ
โดยกัดไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วคายทิ้ง แต่หากมีเลือดหรือน้ำลายให้กลืนลงไป ห้ามอม ห้ามบ้วน และหากยังมีเลือดออกให้กัดผ้ากอซต่ออีก 1 ชั่วโมง
ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งบนผิวบริเวณที่ผ่าตัด
เพื่อลดอาการบวม แต่ห้ามอมน้ำแข็ง
รับประทานอาหารอ่อน ๆ และเคี้ยวง่าย
เพื่อไม่ให้เนื้อแยื่อโดยรอบได้รับการกระทบรุนแรง
หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำ 24 ชั่วโมงหลังจากผ่าตัด
เพราะอาจส่งผลให้ลิ่มเลือดที่กำลังสมานตัวหลุดออก ซึ่งจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาจเกิดอาการบวมมากขึ้นได้
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มและอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
หลีกเลี่ยงการใช้ลิ้นดุนบริเวณแผลผ่าตัด
เพราะอาจทำให้เลือดออกและแผลฉีกจากการทำรากฟันเทียมฉีกขาด
ทำความสะอาดช่องปากและฟันอยู่เสมอ
แต่ในวันแรกห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก
ทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง
ให้ถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอาการหลังจากทำรากฟันเทียมที่อาจจะเกิดขึ้นได้
(เรียนรู้เพิ่มเติม: หลังทำรากฟันเทียมควรกินอะไร? มีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไร?)
บทสรุป
การรักษารากฟันเทียมเป็นการรักษาที่มีความคุ้มค่าต่อผลลัพธ์อย่างมาก เพราะเมื่อทำรากฟันเทียมแล้วจะสามารถใช้ฟันได้เหมือนกับฟันแท้ตามธรรมชาติเลย ไม่ว่าจะเป็นการบดเคี้ยว หรือการออกเสียงก็มีความชัดเจน แถมยังเพิ่มความมั่นใจในการยิ้มหรือพูดคุย และยังเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้นได้ด้วย เพราะหากมีความมั่นใจ บุคลิกภาพของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
ถ้าหากคุณกำลังต้องการคำปรึกษาในการรักษารากฟันเทียม สามารถเข้ามาใช้บริการและขอคำปรึกษาได้ที่คลินิกทันตกรรม Dio Dental เพราะที่นี่มีทันตแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการรักษารากฟันเทียม พร้อมด้วยเครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน