รากฟันเทียม เป็นทางออกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันจากสาเหตุต่าง ๆ จนขาดความมั่นใจ ซึ่งการสูญเสียฟันจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่น ๆ มากมาย ที่จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันยากขึ้น ซึ่งในการรักษานี้จะช่วยให้คุณสามารถกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด
ในบทความนี้จะมาไขข้อข้องใจว่าการทำรากฟันเทียม dental implant คืออะไร? พร้อมทั้งบอกต่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้ก่อนเข้ารับการฝังรากฟันเทียม เพื่อให้เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
รากฟันเทียม คืออะไร ? ส่วนประกอบและหลักการทำงาน
การทำรากฟันเทียม (dental implant) คือ การฝังรากเทียมเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือทันตกรรมอื่น ๆ เช่น การถอนฟัน ซึ่งเป็นการรักษาทางทันตกรรมที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากมีการฝังวัสดุที่ทำจากไทเทเนียมที่เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับรากฟันธรรมชาติ
ซึ่งในการทำรากฟันเทียมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
- Implant Body or Fixture เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก ซึ่งทำมาจากไทเทเนียม มีหน้าที่ในการยึดตัวฟันด้วยสกรูให้มั่นคงด้วยการฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร
- Abutment ส่วนรับรองตัวครอบฟัน ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ทดแทนโครงสร้างแกนฟัน โดยจะอยู่ระหว่างรากฟันเทียมและครอบฟัน
- Crown เป็นส่วนที่ครอบลงไปบนฟันที่อยู่บนรากฟันเทียม ซึ่งทำมาจากเซรามิกที่มีสีและรูปร่างเหมือนฟันธรรมชาติ

ข้อดีของการทำรากฟันเทียมที่ควรรู้
การทำรากฟันเทียมมีข้อดีมากมาย แน่นอนว่าเป็นบริการทันตกรรมที่ช่วยรักษาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการฝังรากฟันเทียมมีข้อดีอย่างไร? ทำไมจึงเป็นการรักษาทางทันตกรรมที่มีความปลอดภัยและคุ้มค่าอย่างมาก
ใช้งานได้เหมือนฟันแท้ตามธรรมชาติ
การสูญเสียฟันส่งผลให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าเดิม ซึ่งอาจจะส่งผลไปยังระบบย่อยอาหาร เพราะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม ซึ่งการรักษารากฟันเทียมจึงช่วยให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดีเหมือนเคย และช่วยในเรื่องการพูดและการออกเสียงให้มีความเป็นธรรมชาติ เพราะสามารถใช้งานได้เหมือนกับฟันแท้
เพิ่มความมั่นใจในการยิ้ม
การทำรากฟันเทียมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการยิ้ม เนื่องจากปัญหาการสูญเสียฟันจะส่งผลต่อความมั่นใจในการยิ้มได้โดยตรง ทำให้ไม่กล้ายิ้ม หัวเราะ หรือพูดคุยได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนเดิม
ความทนทานและการใช้งานระยะยาวของรากฟันเทียม
รากเทียมเป็นวัสดุที่มีความทนทานและสามารถใช้งานได้ยาวนาน 10-20 ปีเลยทีเดียว โดยเฉพาะหากมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี จะสามารถอยู่ได้นานมากกว่านั้นอีกด้วย
ไม่ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงฟันเทียมบ่อย ๆ เมื่อเทียบกับฟันปลอม
การรักษารากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ เพราะเป็นรูปแบบของการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น จึงมีความทนทาน สะดวกสบาย สามารถใช้งานได้เหมือนฟันแท้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดหรือไม่
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม มีอะไรบ้าง?
การฝังรากฟันเทียม เป็นกระบวนการรักษาที่จะต้องมีการผ่าตัดร่วมด้วย ผู้เข้ารับการรักษาจึงควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนการทำรากฟันเทียมอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นการรักษาที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน และในบางกรณีอาจมีความซับซ้อนมาก จึงต้องเดินทางมาเข้ารับการรักษาหลายรอบ

1. ปรึกษาทันตแพทย์
ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม สิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการปรึกษาทันตแพทย์ โดยเฉพาะการทำรากฟันเทียม ที่จะต้องมีการตรวจและประเมินจากทันตแพทย์ก่อนว่าจะสามารถทำได้หรือไม่
2. ปลูกกระดูกเหงือกเพิ่มเติม
ในบางกรณีอาจจะมีการปลูกกระดูกเหงือกเพิ่มเติม หากพบว่ากระดูกสันเหงือกบางเกินไป ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมได้ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนกว่ากระดูกจะโตพอสำหรับการรองรับรากเทียม แต่ในบางกรณีก็อาจจะเป็นการปลูกกระดูกเหงือกเล็กน้อย ก็จะสามารถทำร่วมกับการฝังรากฟันเทียมได้เลย
3. ฝังรากฟันเทียม
ในการฝังรากฟันเทียมจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อทำให้การผ่าตัดราบรื่นมากที่สุด โดยจะเริ่มจากการเปิดเหงือกให้เห็นส่วนที่เป็นกระดูกเพื่อฝังรากเทียมเข้าไปในตำแหน่งที่มีการสูญเสียฟัน จากนั้นจะมีการใส่ฟันปลอมชั่วคราวแบบถอดได้ เพื่อปกปิดช่องว่างเอาไว้จนกว่าจะถึงกำหนดใส่ฟันเทียม
4. ใส่ฟันปลอม
ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อสร้างรูปแบบของฟันปลอมที่เหมาะสมกับสภาพฟันของแต่ละบุคคล จากนั้นจะทำการใส่ฟันปลอมลงไปบนรากเทียมที่มีการยึดติดกับกระดูกอย่างสมบูรณ์แล้ว
5. ติดตามผล
หลังจากการรักษารากฟันเทียมเสร็จสิ้นแล้ว ในช่วงแรก ๆ ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายเพื่อติดตามผลหลังจากการผ่าตัดภายใน 1-2 เดือน และจะนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุกปี
การรักษารากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง
การทำรากฟันเทียมเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แต่ก็จะมีเงื่อนไขในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันด้วยเช่นกัน โดยจะต้องมีสุขภาพภายในช่องปาก โดยเฉพาะบริเวณเหงือกและกระดูกขากรรไกรที่ดีและแข็งแรง สามารถผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันเพื่อทำสะพานฟัน เนื่องจากการทำรากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องกรอฟันซี่ข้างเคียง รวมถึงผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เพราะต้องคอยกังวลว่าฟันปลอมจะหลุดหรือไม่
ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟันเทียม เตรียมให้พร้อมก่อนทำ
ราคาและค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสูญเสียฟันด้วยการฝังรากฟันเทียมมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ชนิดของรากฟันเทียม, จำนวนฟันที่ฝังรากเทียม, ชนิดของรากเทียมที่ใช้, วัสดุที่ใช้ทำครอบฟัน รวมถึงคลินิกทันตกรรมที่เลือกเข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ก่อนที่จะเข้ารับการรักษา จึงต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อคำนวณว่ามีความคุ้มค่าและเพียงพอสำหรับงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันสามารถตรวจสอบราคาและค่าใช้จ่ายในการรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์หรือเบอร์โทรติดต่อของทางคลินิกโดยตรง
รักษารากฟันเทียมที่ไหนดี? เพื่อรอยยิ้มที่สวยงาม
การรักษารากฟันเทียม เป็นบริการทันตกรรมที่ต้องมีการผ่าตัดร่วมด้วย จึงต้องมีการวางแผนการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรากฟันเทียมโดยตรงเท่านั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพภายในช่องปากและอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อีกด้วย
การเลือกคลินิกทันตกรรมจึงต้องมีการพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เพื่อให้เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
- คุณภาพและมาตรฐานของคลินิกทันตกรรม
- ทันตแพทย์ต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์โดยตรง
- เลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน
- รักษาความสะอาดทุกพื้นที่ของคลินิกทันตกรรม
- ราคา ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีรีวิวที่ดีและน่าเชื่อถือ
- มีการให้ข้อมูล คำแนะนำ คำปรึกษา และการวางแผนการรักษาอย่างตรงจุดและชัดเจนมากที่สุด
- มีการติดตามผลอย่างใส่ใจ และพร้อมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความตั้งใจ

ข้อห้ามทำรากฟันเทียม ทั้งก่อนและหลังมีอะไรบ้าง
ท้้งก่อนและหลังทำรากฟันเทียมจะมีข้อห้ามและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่
- อดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
- พักการออกกำลังกายหลังจากผ่าตัดเป็นเวลา 1 สัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด เนื่องจากแรงดูดจะส่งผลให้ลิ่มเลือดที่กำลังอยู่ในช่วงสมานตัวหลุดออก ซึ่งจะทำให้เกิดการปวดและการติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด อาหารที่ต้องเคี้ยว รวมถึงอาหารที่เหนียว กรอบ และแข็ง
- จะต้องล้างแผลด้วยน้ำเกลือ 3-4 ครั้งต่อวัน
- งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 วันหลังจากการผ่าตัด
คำถามที่พบบอยเกี่ยวกับรากฟันเทียม
การทำรากฟันเทียมเจ็บหรือไม่?
ในระหว่างการทำรากฟันเทียมจะมีการใช้ยาชาร่วมด้วย ดังนั้น จึงไม่รู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัด แต่เมื่อยาชาหมดฤทธิ์อาจจะมีอาการปวดตามมาได้ ซึ่งก็จะสามารถทานยาแก้ปวดจากทันตแพทย์เพื่อบรรเทาอาการได้
รากฟันเทียมอยู่ได้กี่ปี
โดยปกติแล้ว อายุการใช้งานของรากฟันเทียมจะอยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี ซึ่งถือเป็นบริการทันตกรรมที่สามารถอยู่ได้นาน โดยเฉพาะหากมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี อาจจะอยู่ได้นานกว่า 20 ปีก็ได้เช่นกัน
สามารถทดแทนฟันที่หายไปได้ทุกประเภทหรือไม่?
การฝังรากฟันเทียมจะต้องมีการพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น สุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับการรักษา ตำแหน่งที่สูญเสียฟัน รวมถึงปริมาณกระดูกขากรรไกรด้วยเช่นกัน
ใช้เวลานานแค่ไหนในการพักฟื้น?
ระยะเวลาที่ใช้ในการพักฟื้น เพื่อให้แผลมีการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับสภาพช่องปาก โดยในช่วง 5-7 วันหลังจากการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมครั้งแรกจะมีอาการปวดบวมบริเวณแผล แต่จะค่อย ๆ น้อยลงจนอาการปวดบวมหายไป
ความเสี่ยงจากการทำรากฟันเทียม
การใส่รากฟันเทียมมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อันตรายต่อฟันและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบระหว่างการผ่าตัด การติดเชื้อในตำแหน่งที่ได้มีการฝังรากเทียมลงไป หรืออาจทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บจากการฝังรากฟันเทียม และตามมาด้วยอาการเจ็บปวดหรือชาในบริเวณนั้น ๆ
สรุป รากฟันเทียม แก้ปัญหาสูญเสียฟัน
การรักษารากฟันเทียม เป็นทางออกที่ตอบโจทย์มากที่สุดสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คุณสามารถใช้ฟันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการยิ้ม การพูดคุย รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย
สำหรับใครที่ต้องการรักษารากฟันเทียม Dio Dental มีบริการทำรากฟันเทียม พร้อมทั้งบริการทางทันตกรรมที่ครอบคลุมทุกปัญหาช่องปากและฟัน ไม่ว่าจะเป็น จัดฟัน วีเนียร์ ฟันปลอม รากฟันเทียม รักษารากฟัน และทันตกรรมอื่น ๆ หากต้องการเข้ารับคำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาได้ทางเว็บไซต์ และเบอร์โทรติดต่อของแต่ละสาขาโดยตรง