การขูดหินปูนฟันเด็ก เป็นหนึ่งในทันตกรรมสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นการดูแลรักษาฟันที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะปัญหาฟันสามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็ก และอาจเป็นปัญหาที่ร้ายแรงขึ้นในอนาคตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เด็กเริ่มขูดหินปูนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
โดยปกติแล้วการทำทันตกรรมสำหรับเด็กสามารถทำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นแล้ว การดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากจึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งทันตกรรมสำหรับเด็กนั้นรวมไปถึงการขูดหินปูนด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการดูแลฟันทางทันตกรรมเพื่อไม่ให้มีคราบหินปูนหรือคราบแบคทีเรียนสะสมอยู่บนฟันและซอกฟัน
ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง
- ตรวจสุขภาพภายในช่องปาก
- เคลือบฟลูออไรด์
- ขูดหินปูน
- เคลือบหลุมร่องฟันน้ำนม
- อุดฟันน้ำนม
- ครอบฟันน้ำนม
- รักษารากฟันน้ำนม
- ถอนฟันน้ำนม
- เครื่องมือป้องกันฟันล้ม
- จัดฟันเด็ก
ขูดหินปูนในฟันเด็ก vs ผู้ใหญ่
แม้ว่าการขูดหินปูนจะเริ่มทำได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หรือในช่วงอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป แต่หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าการขูดหินปูนในฟันเด็กกับฟันผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันหรือไม่? ซึ่งในบทความนี้จะพามาดูความแตกต่างของการขูดหินปูนระหว่าง 2 ช่วงวัย ดังนี้
ขูดหินปูนในฟันเด็ก
คราบหินปูนในฟันเด็กมักเกิดจากการสะสมของเศษอาหาร และไม่ได้ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง ซึ่งคราบหินปูนจะไม่แข็งมากเท่าของผู้ใหญ่
ขูดหินปูนในฟันผู้ใหญ่
คราบหินปูนในฟันผู้ใหญ่จะมีความแข็งและเยอะมากกว่า แถมยังเป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคปริทันต์หรือทำให้เกิดปัญหาเหงืออักเสบ
ขั้นตอนการขูดหินปูน
1. ตรวจสุขภาพฟัน
ก่อนที่จะทำการขูดหินปูน ก็จะต้องมีการตรวจสุขภาพฟันก่อน เพื่อดูว่ามีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือปัญหาฟันอื่น ๆ ที่ควรจะได้รับการรักษาก่อนหรือไม่
2. ขูดหินปูน
ในขั้นตอนนี้ ทันตแพทย์จะเริ่มขูดหินปูนโดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรม โดยจะทำการขูดคราบหินปูนและคราบแบคทีเรียออกจากบริเวณใกล้เหงือกและระหว่างเหงือกกับฟัน ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาที่ไม่เท่ากันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจำนวนหินปูนในฟัน และในกรณีที่เหงือกอักเสบอาจจะมีเลือดออกในระหว่างที่ขูดได้
3. ขัดทำความสะอาดฟัน
หลังจากขูดหินปูนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับขัดฟันโดยเฉพาะ เพื่อกำจัดคราบหินปูนที่ตกค้างหลังจากการขูดออกไป และเป็นการทำความสะอาดฟัน
4. ใช้ไหมขัดฟันเพื่อตรวจสอบร่องฟัน
หลังจากการทำความสะอาดฟันเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะใช้ไหมขัดฟันตรวจสอบว่ามีบริเวณร่องฟันหรือส่วนใดของเหงือกที่มีปัญหาอีกหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็อาจจะทำให้เลือกออกได้หากเหงือกอ่อนแอ
5. บ้วนปาก
ขั้นตอนสุดท้ายของการขูดหินปูน คือการบ้วนปาก เพื่อเป็นการล้างเศษที่ยังตกค้างจากการขูดหินปูนอีกรอบหนึ่ง และเพื่อเตรียมสำหรับการทำทันตกรรมอื่น ๆ ต่อไป
ข้อดีของการขูดหินปูน ดูแลช่องปากและฟันตั้งแต่เด็ก
การที่พ่อแม่ผู้ปกครองพาลูกไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่เด็ก นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาฟันแล้ว ยังมีผลต่อการปลูกฝังให้ลูกมีความสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่ยังเด็กอีกด้วย หากมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ทำให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับการพบทันตแพทย์ หรือการเข้าคลินิกทันตกรรม จะทำให้เด็กรู้สึกว่าการไปตรวจฟันหรือทำฟันเป็นเรื่องปกติทั่วไป
บทสรุป
การขูดหินปูนสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนไปถึงวัยสูงอายุ เพราะคราบหินปูนหรือคราบแบคทีเรียที่อยู่บนฟันและระหว่างซอกฟัน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย เนื่องจากเป็นคราบที่เกิดจากการสะสมของเศษอาหารต่าง ๆ และมนุษย์เราก็มีการทานอาหารเพื่อดำรงชีวิตอยู่แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพาลูกไปขูดหินปูนอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อดูแลสุขอนามัยภายในช่องปาก และเป็นการปลูกฝังให้ลูกคุ้นเคยกับการไปพบทันตแพทย์หรือการทำฟันด้วยนั่นเอง
และที่ Dio Dental ก็มีบริการขูดหินปูนรวมไปถึงทันตกรรมสำหรับเด็ก ที่นี่มีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลฟันและช่องปากของเด็ก พร้อมด้วยเครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน