ความรู้ทันตกรรม

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม?

05

ก.ค.

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม?
Table of Contents

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม? หลังจากที่มีคำถามถึงใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียมไปแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียมก็สำคัญกันเช่นกัน เพราะในบางคนนั้นไม่เหมาะที่จะทำรากฟันเทียม เนื่องจากอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่ควรที่จะทำรากฟันเทียม

ใครที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

ใครที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปสามารถทำรากฟันเทียมได้ เพราะเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันแท้ที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากที่สุด โดยเฉพาะหากส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือความมั่นใจ แต่การทำรากฟันเทียมก็มีข้อจำกัด และมีกรณีที่ไม่ควรทำ ดังต่อไปนี้

ผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี

เนื่องจากขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่หรือยังมีมวลกระดูกไม่เพียงพอ

ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง โรคลูคิเมีย และโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เลือดออกได้ง่าย

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

ที่อาจจะต้องได้รับการฉายแสงในบริเวณใบหน้าและขากรรไกร

ผู้ที่อยู่ระหว่างรักษาด้วยรังสีบำบัดบริเวณคอหรือศีรษะ

แต่หากมีความจำเป็นจะต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการประเมินก่อน

ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

ในขั้นที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองได้

ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ

เพราะจะส่งผลให้รากฟันเทียมโยกและอาจทำให้รากฟันเทียมหลุดได้

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์

โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้เลื่อนไปทำหลังจากคลอด เนื่องจากอาจจะเกิดภาวะเครียดได้

ผู้ที่มีการใช้ยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด

แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำก็จะต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ข้อควรระวังในการทำรากฟันเทียม

ในการทำรากฟันเทียมจะมีค่าใช้ง่ายค่อนข้างเยอะ จึงควรระวังในเรื่องของงบประมาณเป็นอันดับแรก ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้นจะไม่ครอบคลุมอยู่ในประกันสุขภาพ และหลังจากการผ่าตัดอาจมีอาการปวด บวม และมีเลือดออก หรืออาจจะมีอาการข้างเคียงจากยาสลบที่ใช้ระหว่างในการรักษาเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกง่วงนอน เป็นต้น

นอกจากนี้อาจจะมีอาการที่รุนแรง เนื่องจากมีการอักเสบหรือติดเชื้อในบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยจะมีอาการปวด เหงือกบวมมากกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นความเจ็บในระดับที่มากเกินจะทนได้และเป็นต่อเนื่องกันเวลาหลายวัน หากเป็นกรณีแบบนี้ควรจะรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจดูอากา และสิ่งสำคัญ คือ หลังจากการทำรากฟันเทียมแล้วจะต้องไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสภาพรากเทียม เหงือก และกระดูก

ค่าใช้จ่ายในการทำรากฟันเทียม

ค่าใช้จ่ายในการทำรากฟันเทียม

ราคาและค่าใช้จ่ายในการทำรากฟันเทียมของแต่ละคลินิกจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อรากฟันเทียม ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์เพราะเป็นการรักษาที่จะต้องทำโดนทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น รวมถึงรูปแบบของการทำรากฟันเทียมด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่

  • รากฟันเทียมซี่เดียว (Single Dental Implant)
  • รากฟันเทียมหลายซี่ (Implant-Supported Bridge)
  • รากฟันเทียมทั้งปาก (Implant-Retained Denture)

ทำรากฟันเทียมที่ Dio Dental

หากคุณเลือกทำรากฟันเทียมที่ Dio Dental Clinic จะมีค่ารักษารากฟันเทียมแบบ Digital เริ่มต้นที่ราคา 23,999 บาท/ซี่ ซึ่งเป็นราคาที่รวมครอบฟัน Zirconia เรียบร้อยแล้ว และสามารถไว้วางใจในผลลัพธ์การรักษาได้ด้วยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยตรง และมีการใช้เทคโนโลยีในการวางแผนผ่าน Digital 3D และ CT-Scan มีแลป ออกแบบและผลิตชิ้นงานเซรามิก Zirconia ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

รีวิวทำรากฟันเทียมที่ Dio Dental

บทสรุป

แม้ว่าการทำรากฟันเทียมจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการทดแทนการสูญเสียฟันแท้ แต่ในทุกการรักษาย่อมมีข้อจำกัดและเงื่อนไขอยู่เสมอ เพราะหากทำการรักษาให้กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ และอาจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายอีกมหาศาลเลยก็ได้

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin