ความรู้ทันตกรรม

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงนอนกัดฟัน? แก้ได้หรือไม่ ไปดูกัน

26

มิ.ย.

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงนอนกัดฟัน แก้ได้หรือไม่ ไปดูกัน
Table of Contents

มีใครที่เคยรู้สึกสงสัยกับอาการนอนกัดฟันของคนใกล้ตัวหรือของตัวเองบ้างหรือไม่? ปัญหาการนอนกัดฟันถือเป็นปัญหากวนใจสำหรับใครหลายคนที่อาศัยอยู่กับเพื่อน แฟน หรือคู่สามีภรรยา เพราะอาจจะมีการรบกวนต่อการนอนหลับของอีกฝ่ายได้ ซึ่งในวันนี้จะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่าการนอนกัดฟันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

การนอนกัดฟันคืออะไร

การนอนกัดฟันคืออะไร

การนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็นหนึ่งในภาวะที่มีความผิดปกติในขณะนอนหลับ โดยจะมีกัดหรือขบฟันบนและฟันล่างไปมา สามรถเกิดได้ตลอดทั้งวันและในระหว่างการนอนหลับได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการนอนกัดฟันก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การนอนกัดแบบรู้ตัวและการนอนกัดฟันแบบไม่รู้ตัว และจะมีทั้งในกรณีที่ไม่ได้รุนแรงมาก และในกรณีที่มีความรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ 

ภาวะแทรกซ้อนจากการนอนกัดฟัน

  • มีปัญหาเกี่ยวฟันตามมา เช่น ฟันแตก ฟันร้าว ฟันสึกกร่อน ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียฟันได้
  • มีอาการเสียวฟันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตอนที่ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
  • มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณหน้าหูหรือบริเวณกกหู
  • มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณขากรรไกร และบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกร ทำให้อ้าปากลำบาก
  • มีอาการปวดหัวเรื้อรัง ซึ่งจะเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบในระหว่างที่นอนกัดฟัน 
  • มีปัญหาเหงือกอักเสบ หรือเหงือกร่น

ผลเสียจากการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันมีผลเสียที่ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง ดังนี้

  • ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟัน 
  • ส่งผลต่อบุคลิกภาพและรูปหน้า เช่น กระดูกกรามขยายใหญ่ขึ้น หรือใบหน้ากางออก
  • ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การเคี้ยวอาหาร การหุบปากหรืออ้าปาก และปวดเมื่อยบริเวณใบหน้าและข้อต่อขากรรไกร
  • ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน แฟน สามีหรือภรรยา เนื่องจากในระหว่างการนอน อาจจะส่งเสียงออกมาจนทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถนอนหลับได้สนิท

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก่

  • ความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะความรู้สึกเหล่านี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและใบหน้ามีการเกร็งตัวนั่นเอง
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • บุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล เช่น สมาธิสั้น ก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่
  • การใช้ยารักษาโรคที่ต้องทานเป็นประจำ เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือยารักษาโรคทางจิตเวช

วิธีแก้ปัญหาการนอนกัดฟัน

วิธีแก้ปัญหาการนอนกัดฟัน

เนื่องจากในบางกรณีอาจจะเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก การรักษาจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และในปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาอย่างหลากหลาย ได้แก่

การแก้ไขทางด้านจิตใจ

เนื่องจากความเครียดและความวิตกกังวล เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการนอนกัดฟัน และสำหรับการแก้ปัญหานี้ก็อาจจะมีการพบผู้เชี่ยวชาญหรือพบนักจิตวิทยาเพื่อจัดการกับปัญหาทางด้านจิตใจก่อน และเรียนรู้วิธีที่จะช่วยคลายเครียด คลายกังวลให้กับตัวเองได้ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีแตกต่างกันไป เช่น การออกกำลังกาย การเข้าวัดทำบุญ หรือการนั่งสมาธิ เป็นต้น

การแก้ไขทางทันตกรรม

สำหรับวิธีการแก้ไขทางทันตกรรมที่สามารถแก้ปัญหานอนกัดฟัน มีดังนี้

  • การใส่ฟันยางหรือใส่เฝือกสบฟัน โดยจะใส่ระหว่างการนอนหลับ
  • การจัดฟัน ซึ่งในบางกรณีอาจจะมีการผ่าตัดร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์
  • การพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน

การแก้ไขทางพฤติกรรม

  • ลดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน เช่น เข้านอนให้เป็นเวลา จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่เหมาะสมกับการนอน ไม่สว่างจนเกินไป หรือเล่นโทรศัพท์ก่อนอน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการกัดหรือเคี้ยวปากกาหรือดินสอในระหว่างวัน เนื่องจากอาจส่งผลต่อการนอนกัดฟันได้

บทสรุป

พฤติกรรมการนอนกัดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ และเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับที่รุนแรงหรือไม่ก็ตาม เพราะหากส่งผลกระทบต่อร่างกายไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลเสียที่รุนแรงก็ได้เช่นกัน การรักษาและแก้ปัญหาการนอนกัดฟันตั้งแต่เริ่มรู้สึกตัวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ซึ่งหากใครที่ไม่รู้ว่าตัวเองนอนกัดฟันหรือไม่ อาจจะลองถามเพื่อนหรือคนรัก หรือขอให้ช่วยสังเกตอาการในระหว่างการนอนของเราว่ามีการนอนกัดฟันหรือไม่ และสามารถเข้าขอคำปรึกษาได้ที่คลินิกทันตกรรม Dio Dental ที่มีทันตแพทย์มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาทางทันตกรรม

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin
นัดเพื่อปรึกษาทันตแพทย์
บทความล่าสุด
Follow Us