ความรู้ทันตกรรม

ต้องการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน ทำอย่างไร?

18

มิ.ย.

ต้องการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน ทำอย่างไร
Table of Contents

ต้องการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วันเป็นคำถามที่คนที่ต้องการรักษาหรือแก้ไขการสูญเสียฟันโดยเทคนิครากฟันเทียมแบบเร่งด่วน เพราะอาจจะมีความกังวลในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงความมั่นใจที่หายไปจากการสูญเสียฟัน และในบทความนี้มีคำตอบสำหรับคำถามนี้ รวมไปถึงคุณสมบัติของคนไข้ที่สามารถทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน

ทำรากฟันเทียมภายใน 1 วันได้อย่างไร

ทำรากฟันเทียมภายใน 1 วันได้อย่างไร

การทำรากฟันเทียมเป็นการรักษาทางทันตกรรมเเพื่อทดแทนการสูญเสียรากฟันจริง ซึ่งถือเป็นการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว เพราะการทำรากฟันเทียมจะมีความแข็งแรงและคงทนเหมือนฟันแท้ตามธรรมชาติ และการทำรากฟันเทียมก็มีด้วยกันหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือการทำรากฟันเทียมแบบทันที หรือทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน ซึ่งจะสามารถลดขั้นตอนและประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว โดยรากฟันเทียมจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา (Conventional Implant)

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา คือการทำรากฟันเทียมซี่เดียวและทำหลายซี่แบบถาวร โดยหลังจากการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแล้ว จะใช้เวลา 2 เดือนขึ้นไปในการรอให้ส่วนของรากเทียมยึดติดแน่นกับกระดูก แล้วจึงทำครอบฟันบนรากฟันเทียม

การฝังรากเทียมแบบทันที (Immediate Implant)

การฝังรากเทียมแบบทันที คือการทำการฝังรากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟันหรือผ่าฟัน โดยจะใช้เวลาในทำเพียง 1 วัน ซึ่งจะทำการครอบฟันหรือสะพานแบบชั่วคราวบนรากฟันเทียมทันที ไม่ต้องรอให้ส่วนของรากเทียมยึดติดแน่นกับกระดูก

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม (Immediate Loaded Implant)

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม คือการครอบฟันลงไปบริเวณที่มีการฝังรากฟันเทียมบริเวณกระดูกขากรรไกร ซึ่งทำได้ทั้งแบบชั่วคราวและแบบติดแน่นถาวร โดยจะเป็นฟันปลอมแบบใส่ได้ทันที เหมาะกับผู้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรแข็งแรงสมบูรณ์ดี

(อ่านเพิ่มเติม: รากฟันเทียมมีกี่แบบ? ข้อดีของการทำรากฟันเทียม)

รากฟันเทียมภายใน 1 วันเหมาะกับใคร

สำหรับการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน จะมีเงื่อนไขเล็กน้อย คือจะต้องเป็นผู้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์เพียงพอ และมีปริมาณมวลกระดูกหนาแน่น เพราะคุณภาพและลักษณะของกระดูกมีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษารูปแบบนี้ ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจทำให้แผลหายช้า และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่จัดหรือนอนกัดฟัน ซึ่งจะต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนว่าจะสามารถทำได้หรือไม่

ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียมแบบทันที

การทำรากฟันเทียมแบบทันทีก็เหมือนกับการทำรากฟันเทียมแบบทั่วไป ซึ่งจะต้องมีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างละเอียด และมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1. ถอนฟันและทำความสะอาด

ทันตแพทย์จะทำการถอนฟันและทำความสะอาดบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียม

2. ฝังรากฟันเทียม

จากนั้นจะเริ่มผ่าตัดฝังรากฟันเทียม และใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันแบบชั่วคราวทันที

3. ครอบฟันจริง

หลังจากนั้นประมาณ 3-4 เดือน ทันตแพทย์จะนัดมาทำครอบฟันจริง แต่ในระหว่างนั้นก็จะสามารถใช้งานครอบฟันชั่วคราวได้ตามปกติ

ข้อดีของการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน

การฝังรากฟันเทียมแบบทำเสร็จภายใน 1 วัน แน่นอนว่าเป็นการรักษาและแก้ปัญหาฟันได้อย่างรวดเร็ว สามารถประหยัดเวลาและขั้นตอนในการทำได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเหงือกร่น และลดการละลายของกระดูก 

วิธีดูแลหลังทำรากฟันเทียม

วิธีดูแลหลังทำรากฟันเทียม

หลังจากการทำรากฟันเทียมแล้วอาจจะมีอาการปวดหรือบวมเป็นเรื่องปกติ สามารถทานยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์จัดให้เพื่อบรรเทาอาการได้ และจะมีวิธีการดูแลที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ช่วงวันแรกๆ ให้เลือกทานอาหารอ่อนและเหลว เพื่อง่ายต่อการเคี้ยว และไม่กระทบแผล
  • ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สามารถแปรงฟัน ทำความสะอาดฟันได้ตามปกติ ใช้น้ำยาบ้วนปากและไหมขัดฟันร่วมด้วย
  • ไปตามนัดของทันตแพทย์ทุกครั้งเพื่อติดตามผล และตรวจสุขชภาพช่องปากและฟัน
  • หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงให้รีบพบทันตแพทย์ทันที

(เรียนรู้เพิ่มเติม: วิธีการดูแลฟันหลังจากทำรากฟันเทียม ต้องทำอย่างไรบ้าง ?)

บทสรุป

การทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน จะสามารถลดระยะเวลาในการรักษาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้อีกด้วย เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่อยากทำให้เสร็จภายใน 1 วัน แต่ก่อนจะทำจะต้องปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา อาจจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษามากกว่าเดิมก็ได้

และเมื่อคุณกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมเพื่อที่จะทำรากฟันเทียม Dio Dental ยินดีและพร้อมให้บริการ เพราะที่ Dio Dental นั้นเราเป็นคลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก เพราะเรามีเครื่องมือทันตกรรมที่สะอาดและมีความทันสมัย ถูกใช้โดยทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

บทความเพิ่มเติม:

แชร์ผ่าน Facebook
แชร์ผ่าน Twitter
แชร์ผ่าน LinKedin